เหล็กเสริมคอนกรีต (Reinforced Steel Bar)

เหล็กเส้น (Rebar) ใช้สำหรับนำมาเสริมคอนกรีตในบริเวณที่รับแรงดึงหรือต้านทานการแตกร้าวในคอนกรีต แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ (Round Bar, RB) และ เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar, DB) เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ (Round Bar, RB) ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 20-2543 … Read More

หลังจากถมที่เสร็จแล้ว…เราสามารถสร้างบ้านได้ทันทีหรือไม่

การปรับหน้าดินก่อนสร้างบ้าน ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับคนที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเองจำเป็นต้องรู้เอาไว้ การถมที่เพื่อสร้างบ้าน จะทำในกรณีที่ดินที่จะปลูกสร้างอยู่ต่ำกว่าระดับถนน อาจเป็นแอ่งน้ำหรือบ่อน้ำเก่า หรือว่าต้องการให้บริเวณที่จะสร้างบ้านมีความสูงกว่าระดับถนนหรือระดับพื้นดินเดิม จะด้วยเหตุผลเพื่อการป้องกันน้ำท่วม หรือออกแบบบ้านมาให้การสร้างมีการยกระดับพื้นบ้านให้สูงขึ้น และเมื่อได้ทำการถมดินแล้วในระยะแรกจะเห็นว่าดินที่ถมมีความสูงตามที่ได้กำหนดไว้ เช่น กำหนดให้ถมดินสูงกว่าระดับถนนประมาณ 80 เซนติเมตร แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะพบว่าดินเกิดการยุบตัวทำให้ความสูงอาจเหลือไม่ถึงครึ่งของที่ถมไว้ และการที่ดินเกิดการทรุดตัวภายหลังการถมนี่เอง จึงเป็นสาเหตุของข้อสงสัยว่าการสร้างบ้านทันทีภายหลังการถมดินเป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือไม่ ดังนั้นในหัวข้อนี้ จึงขอแยกออกมาเป็น 2 กรณีดังนี้ กรณีโครงสร้างของตัวบ้านใช้ฐานรากแผ่ที่ไม่ได้ตอกเสาเข็ม จะทำได้เฉพาะกรณีที่ถมดินเพื่อปรับหน้าดินธรรมดาที่พื้นที่เดิมเป็นดินแข็งอยู่แล้ว … Read More

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns)

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns) จะเป็นตัวรับน้ำหนักของอาคาร โดยตัวอาคารจะถ่ายน้ำหนักมาลงที่เสาในแนวดิ่ง และในบางครั้งอาจจะต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย ซึ่งเสาจะมีรูปแบบและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ในการพิจารณาออกแบบเสาจะต้องพิจารณาถึงการรับแรงของเสาและลักษณะปลายยึดของหัวเสาด้วย ลักษณะของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งโดยสังเขปเป็น 2 ประเภท ดังนี้ แบ่งตามลักษณะของแรงที่มากระทำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงตามแนวศูนย์กลางแกนเสา … Read More

คานคอดิน (Ground Beam) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่

คานคอดิน (Ground Beam) คือส่วนประกอบโครงสร้างบนดินที่รับน้ำหนักพื้น ผนัง และสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป แล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังตอม่อและฐานรากต่อไป การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ คานคอดินวางอยู่บนระดับดิน เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่สูงจากระดับดินไม่มากนัก ในการก่อสร้างจึงมักทำเนินดินให้สูงเสมอท้องคานคอดิน และเทลีน (Lean) เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ และใช้ไม้แบบเฉพาะด้านข้างคานทั้งสองด้าน คานคอดินอยู่สูงจากระดับดินมากกว่า 1 … Read More

การเทลีน (Lean Concrete) เรื่องพื้นฐานงานก่อสร้างที่ไม่ควรละเลย

เทลีนหรือการเทคอนกรีตเพื่อปรับผิวหน้าดิน นิยมทำเพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รองรับการผูกเหล็กและการเทคอนกรีตในงานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้สำหรับเทรองก้นหลุมป้องกันความสกปรกแก่คอนกรีตและเหล็กเสริม เช่น ดินโคลน น้ำใต้ดิน ช่วยให้ทำงานได้สะดวก ไม่เฉอะแฉะ การเทลีน (Lean Concrete) ยังช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้นด้วย เช่นการผูกเหล็กเพื่อทำโครงสร้างมีระดับติดกับพื้นดินอย่างเช่นฐานรากหรือคานคอดิน เนื่องจากเหล็กเสริมควรจะมีคอนกรีตหุ้มอยู่ไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้าง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิมอีกด้วย

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ใช้เพื่อทดสอบหาค่าความข้นเหลวของคอนกรีตในสภาพเหลวโดยใช้วิธีการทดสอบหาค่าการยุบตัว เพื่อตรวจสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต (Workability) ค่ายุบตัวไม่ได้เป็นค่าที่วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตโดยตรง แต่เป็นการวัดความข้นเหลวของคอนกรีต (Consistency) หรือลักษณะการไหลตัวของคอนกรีต (Flow Characteristic) แม้วิธีนี้จะไม่เหมาะสมสำหรับทดสอบคอนกรีตที่เหลว หรือแห้งมากแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากและสะดวกสำหรับการควบคุมความสม่ำเสมอของการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เช่น ในกรณีที่ค่ายุบตัวของคอนกรีตมีค่ามากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสัดส่วนผสม ขนาดคละหรือความชื้นในมวลรวมซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตคอนกรีตสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้

จะสร้างบ้านทั้งที…ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

ความสำคัญของเสาเข็ม เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน เป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง หากว่าเราสร้างบ้านแล้วไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะกดทับผิวดินด้านบนให้ค่อยทรุดตัวลงทีละนิดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านได้

1 2 3