บ้านโครงสร้างเหล็ก…อีกทางเลือกใหม่ของงานก่อสร้าง

ในการสร้างบ้านนั้นส่วนที่จะเป็นตัวรับน้ำหนักของบ้านก็คือโครงสร้างบ้าน ดังนั้นวิธีการออกแบบโครงสร้างและการเลือกใช้วัสดุที่จะนำมาทำโครงสร้างบ้านจึงต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ โครงสร้างบ้านที่เราคุ้นเคยและพบเห็นโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นบ้านโครงสร้างไม้และบ้านโครงสร้างปูน แต่ในปัจจุบันยังมีโครงสร้างอีกแบบที่เริ่มนำมาใช้เป็นโครงสร้างบ้านนั่นก็คือ โครงสร้างเหล็ก โครงสร้างชนิดนี้สามารถนำมาใช้งานทั้งงานสร้างบ้านใหม่และงานต่อเติม ไม่ว่าจะเป็นระบบเสาและคาน จะใช้เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน หรือที่ช่างนิยมเรียกกันว่า เหล็กตัวไอ

รอยต่อ (Joint) ในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก มีอะไรบ้าง

รอยต่อ (Joint) ในโครงงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หมายถึงบริเวณที่เกิดความไม่ต่อเนื่องของโครงสร้าง ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความจำเป็นทางด้านการก่อสร้าง หรือเพื่อลดการแตกร้าวที่เกิดขึ้นภายในโครงสร้างคอนกรีต หรือเพื่อยอมให้เกิดการเคลื่อนตัวของโครงสร้างคอนกรีตโดยไม่เกิดแรงต้าน โดยทั่วไปแล้วจะสามารถแบ่งรอยต่อออกได้เป็น 3 ประเภทหลักคือ

การรับน้ำหนักบรรทุกของ ฐานรากแบบเสาเข็ม (Pile Foundation)

เสาเข็ม (Pile) สามารถต้านทานน้ำหนักอาคารได้โดยมี 2 กลไกหลัก คือ ความฝืดหรือแรงเสียดทาน (Friction) กับ แรงแบกทาน (End bearing) ดังนั้นรูปร่างหน้าตัดของเสาเข็มกับความยาวของเสาเข็ม ตลอดจนวัสดุท่ีใช้ทําเสาเข็ม จึงมีผลต่อการรับหนักนักของเสาเข็มด้วย แรงฝืดหรือกําลังแบกทานของดิน จะกระทำระหว่างผิวเสาเข็มกับดินท่ีล้อมรอบ ส่วนแรงแบกทานท่ีปลายเสาเข็มเกิดจากน้ำหนักของอาคารถ่ายลงฐานราก แล้วถ่ายต่อลงไปยังเสาเข็ม ซึ่งวางอยู่บนช้ันดินแข็งหรือชั้นหิน … Read More

เมื่อตอกเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ลงไปในดิน จะมีปัญหาเรื่องการเกิดสนิมหรือไม่

เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงโดยใช้แรงเหวี่ยง (Prestressed spun concrete pile) ภาษาช่างมักเรียกกันสั้นๆ ว่า “เสาเข็ม spun” เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อคอนกรีตเข้าไปอีกด้วยเทคโนโลยีการหมุนแบบหล่อเสาเข็มด้วยความเร็วสูงขณะหล่อเสาเข็ม โดยจะมีการหมุนแบบหล่อด้วยความเร็วสูงในขณะเทคอนกรีตซึ่งการหมุนแบบหล่อด้วยความเร็วสูงนี้จะทำให้เกิดแรงหนีศูนย์กลางขึ้นในเนื้อคอนกรีต คอนกรีตจะอัดตัวแน่นทำให้มีกำลังสูงขึ้น เสาเข็มประเภทนี้จะรับน้ำหนักได้มากและมีหน้าตัดกลมเป็นรูกลวงตรงกลาง มีโครงลวดเหล็กกล้าอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ มักใช้ในงานอาคารขนาดใหญ่เนื่องจากมีความสามารถในการรับน้ำหนักมากกว่าเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงทั่วไป

การเจาะสำรวจดิน (Soil Boring Test) จุดเริ่มต้นที่ดีของโครงการก่อสร้าง

สภาพชั้นดินในหลายพื้นที่ของประเทศไทยนั้นอาจมีความแปรปรวนของชั้นดิน ทำให้สภาพพื้นที่แตกต่างไปจากพื้นที่ทั่วไป เช่น มีชั้นทรายหลวมผิดปกติ มีชั้นดินเหนียวอ่อน หรือระดับความลึกของชั้นดินที่แข็งแรงมีความผันแปรสูง เป็นต้น จากสภาพของชั้นดินดังกล่าว อาจทำให้ฐานรากเกิดการวิบัติได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ก่อนที่วิศวกรจะทำการออกแบบฐานรากให้ดีและเหมาะสมนั้น จึงต้องจัดให้มีการเจาะสำรวจดินอย่างเพียงพอ เพื่อให้การออกแบบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นไปอย่างละเอียดรอบครอบ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เพื่อการวิเคราะห์ดินจากประสบการณ์และการสังเกต เมื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับดินในส่วนใดแล้ว จะต้องมีการวางแผนการสำรวจดิน เพื่อให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย … Read More

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun micropile โดยภูมิสยาม เสาเข็มเพื่อการต่อเติม มาตรฐาน มอก.397-2524 

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun micropile โดยภูมิสยาม เสาเข็มเพื่อการต่อเติม มาตรฐาน มอก.397-2524  ต่อเติมบ้านในที่แคบ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ก็สามารถเข้าทำงานได้สะดวก สามารถตอกชิดกำแพงได้ 50 ซม. จากเซ็นเตอร์เสาเข็ม แรงสั่นสะเทือนน้อย ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเกิดความเสียหาย เหมาะสำหรับงานต่อเติมบ้าน เพราะหน้างานสะอาดไม่มีดินโคลน เสาเข็มสปันไมโครไพล์ได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน มอก.397-2524 มาตรฐานการออกแบบการผลิตและตอก … Read More

การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร จนน้ำซึมเข้าในอาคารหรือตัวบ้าน

ดาดฟ้า เป็นบริเวณสำคัญที่ช่วยปกป้องบ้านและอาคาร เนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องรับน้ำฝนและแสงแดดโดยตรง ควรดูแลรักษาดาดฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจะช่วยป้องกันปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม เพราะน้ำที่ซึมเข้าไปจะทำให้เหล็กเส้นโครงสร้างภายในคอนกรีตเป็นสนิม และดันคอนกรีตปริแตก ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคารได้ สาเหตุ ของปัญหาพื้นดาดฟ้าร้าว รั่ว คอนกรีตกระเทาะหลุดร่อน มาจากน้ำรั่วซึมจากดาดฟ้า ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นอาคารเก่าที่ไม่ได้ทำระบบกันซึมเอาไว้ หรืออาจจะทำแล้วแต่ว่าเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หรือเกิดจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การเทพื้นดาดฟ้าไม่ได้ระดับทำให้เกิดน้ำขังเป็นแอ่ง ส่งผลให้น้ำซึมเข้ามาถึงเหล็กโครงสร้างจนเกิดสนิม เมื่อเหล็กเริ่มเป็นสนิมจะเกิดการพองตัวไปดันคอนกรีตที่หุ้มผิวด้านนอกจนแตกร้าวและหลุดร่อนออกมา การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร ส่วนดาดฟ้า … Read More

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก…เรื่องพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยที่นิยมกันทั่วไปมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ พื้นสำเร็จวางบนคานและพื้นชนิดวางบนดิน การก่อสร้างพื้นทั้ง 2 ชนิดนี้มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนมากนัก พื้นสำเร็จวางบนคาน (Slap on Beam) พื้นชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักลงสูงโครงสร้างอาคารในแนวเดียวลงสู่คานที่ได้ออกแบบไว้สำหรับรับน้ำหนักจากแผ่นพื้น แผ่นพื้นชนิดนี้โดยปกติจะมีความยาว 2 – 5 เมตร และมีความกว้าง … Read More

ลักษณะโครงสร้างชั้นดินเหนียวกรุงเทพ หรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า Bangkok Clay

ดินเหนียวอ่อนโดยทั่วไปเป็นดินท่ีตกตะกอนอยู่บริเวณปากแม่น้ํา โดยลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณน้ีเม็ดดินจะถูกพัดพาจากแม่น้ำลงสู่ทะเลและน้ำทะเลก็หนุนกลับเข้ามาตกตะกอน ทําให้ชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีทั้งแบบตกตะกอนในแม่น้ําและในทะเล ซึ่งเป็นลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่างหรือที่เรียกว่าดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok Clay) โดยมีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนหนาประมาณ 10-15 เมตร ชั้นถัดไปจะเป็นชั้นดินเหนียวแข็งและชั้นทรายสลับกันไป ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ (Bangkok Clay) มีลักษณะชั้นดินและคุณสมบัติของดิน ดังนี้ ชั้น Crust ที่มีความลึกประมาณ 0-2 เมตร … Read More

ฐานราก (Footing) แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดมีอะไรบ้าง

ฐานราก (Footing) ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมดแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มหรือดินโดยตรง คุณสมบัติของดินที่รองรับฐานรากควรมีความสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัวหรือพังทลายของดินใต้ฐานรากและต้องไม่เกิดการทรุดตัวลงมากจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้าง ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากซึ่งลึกจากระดับผิวดินน้อยกว่า หรือเท่ากับด้านที่สั้นที่สุดของฐานราก โดยฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับสภาพพื้นดินท่ีมีความสามารถแบกรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง และกับสภาพพื้นดินท่ีตอกเสาเข็มไม่ลงหรืออย่างยากลำบาก เช่น … Read More

1 2 3