ตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ภายในอาคารเพิ่มเติม ระดับความสูงจำกัด เพื่อเพิ่มการรับน้ำหนัก
ภูมิสยาม ซัพพลาย ได้รับความใว้วางใจ ในงานตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ภายในอาคารเพิ่มเติม โดยที่ระดับความสูงจำกัด เราสามรถทำได้
ภูมิสยาม ซัพพลาย ได้รับความใว้วางใจ ในงานตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ภายในอาคารเพิ่มเติม โดยที่ระดับความสูงจำกัด เราสามรถทำได้
งานตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) สำหรับต่อเติมโรงงาน Gintech นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เป็นงานตอกเสาเข็มใต้อาคารที่มีความสูงจำกัด จึงจำเป็นต้องใช้ปั้นจั่นแบบย่อส่วนที่ทางภูมิสยาม ได้ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อให้เข้าทำงานในหน้างานที่มีลักษณะนี้ได้ และใช้เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ ที่มีความยาวที่ท่อนละ 1.5 เมตร แล้วนำมาเชื่อมต่อกันที่เหล็กปลอกรัดหัวเสาเข็ม เพื่อตอกลงไปจนลึกสุดจนสามารถเช็คจาก Last 10 … Read More
คานคอดิน (Ground Beam) คือส่วนประกอบโครงสร้างบนดินที่รับน้ำหนักพื้น ผนัง และสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป แล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังตอม่อและฐานรากต่อไป การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ คานคอดินวางอยู่บนระดับดิน เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่สูงจากระดับดินไม่มากนัก ในการก่อสร้างจึงมักทำเนินดินให้สูงเสมอท้องคานคอดิน และเทลีน (Lean) เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ และใช้ไม้แบบเฉพาะด้านข้างคานทั้งสองด้าน คานคอดินอยู่สูงจากระดับดินมากกว่า 1 … Read More
การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ใช้เพื่อทดสอบหาค่าความข้นเหลวของคอนกรีตในสภาพเหลวโดยใช้วิธีการทดสอบหาค่าการยุบตัว เพื่อตรวจสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต (Workability) ค่ายุบตัวไม่ได้เป็นค่าที่วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตโดยตรง แต่เป็นการวัดความข้นเหลวของคอนกรีต (Consistency) หรือลักษณะการไหลตัวของคอนกรีต (Flow Characteristic) แม้วิธีนี้จะไม่เหมาะสมสำหรับทดสอบคอนกรีตที่เหลว หรือแห้งมากแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากและสะดวกสำหรับการควบคุมความสม่ำเสมอของการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เช่น ในกรณีที่ค่ายุบตัวของคอนกรีตมีค่ามากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสัดส่วนผสม ขนาดคละหรือความชื้นในมวลรวมซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตคอนกรีตสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ การทดสอบทำโดยตักคอนกรีตใส่ลงในโคนที่มีลักษณะเป็นกรวยยอดตัดให้ได้ 3 ชั้น … Read More
โดยปกติถ้าเป็นดินที่อยู่แถวกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นดินอ่อน การจะตอกเสาเข็มให้ลึกจนถึงชั้นดินแข็งได้ก็จะต้องตอกให้ลึกประมาณ 21 เมตร หากใช้เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ก็จะต้องใช้เสาเข็ม 14 ท่อนในการตอก 1 ต้น แต่เนื่องจากว่าหน้าดินของแต่ละที่ไม่เหมือนกันดังนั้นจึงต้องหาวิธีที่เป็นมาตรฐานในการทดสอบว่าเสาเข็มที่ตอกไปลงลึกจนถึงระดับที่จะสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ วิธีที่นิยมใช้ก็คือการนับโบว์เคาท์ Last 10 Blow Count หมายถึงระยะจมของเสาเข็มในการทดสอบด้วยการตอก 10 ครั้ง ซึ่งจะต้องมีค่าไม่เกินกว่าที่คำนวณได้จึงจะผ่านเกณฑ์ … Read More
ในทางทฤษฎีการหยุดเทคอนกรีตนานเกิน 30 นาที ถ้าจะเทใหม่จะต้องรออีก 20 ชั่วโมง แต่ด้วยเวลาที่จำกัดเพื่อที่จะต้องเร่งปิดงานให้เสร็จทันกำหนดจึงไม่สามารถรอนานขนาดนั้นได้ เพราะจะไปกระทบกับงานในช่วงถัดไปที่ได้กำหนดเวลาเอาไว้แล้ว ดังนั้นจึงควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องรวดเดียวจนเสร็จ แต่ก็มักจะมีเหตุสุดวิสัยที่ต้องหยุดงาน เช่น คอนกรีตขาดช่วงเพราะรถส่งคอนกรีตมาหน้างานไม่ทัน เป็นต้น ในบล็อกนี้จึงได้เขียนถึงการแก้ปัญหาเวลาคอนกรีตขาดช่วงแล้วจะทำยังไงให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด การแก้ปัญหาเวลาที่เทคานคอนกรีตแล้วคอนกรีตขาดช่วง วิเคราะห์ตามโครงสร้างของคานคอนกรีต จะมีความสามารถรับแรงอัดและแรงเฉือนได้ดี แต่จะไม่สามารถรับแรงดึงได้ ดังนั้นจึงจะเป็นต้องมีเหล็กเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในตรงนี้ และตามลักษณะของโมเมนต์กับแรงเฉือน … Read More
การแตกร้าวของคอนกรีตเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้น แต่บางครั้งถ้าหากเทคอนกรีตไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างรอยร้าวขึ้นมาได้ ในบล็อกนี้ได้เอาปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีตก่อนที่ของคอนกรีตจะเริ่มแข็งตัวมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 – 8 ชั่วโมง ภายหลังจากการเทคอนกรีต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้ การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement) รอยร้าวชนิดนี้มีสาเหตุมาจากความชื้น ซึ่งจะทำให้แบบพองตัวหรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอรับน้ำหนักของคอนกรีตได้ อย่างไรก็ตามวัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปู … Read More
การแตกร้าวของถนนนั้นมักจะเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัวหรือเป็นที่รู้จักกันในเชิงวิชาการคอนกรีตว่า การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking) ซึ่งนอกจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับงานถนนแล้วยังเกิดกับงานประเภทพื้นที่อยู่กลางแจ้งอื่นได้อีกด้วย อาทิ พื้นนอาคาร, ดาดฟ้าและลานประเภทต่างๆ เป็นต้น การแตกร้าวในลักษณะน้ีจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต่างกับการแตกร้าวเนื่องจากคอนกรีตหดตัวแบบแห้งซึ่งจะเป็นเส้นค่อนข้างตรง และยาว ที่มักจะเกิดข้ึนเมื่อไม่มีการตัดรอยต่อที่ถูกต้อง สาเหตุของการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก การที่คอนกรีตเกิดการแตกร้าวแบบนี้มีสาเหตุมาจากคอนกรีตหดตัวอย่างเฉียบพลันในช่วงที่ยังอยู่ในสภาพยังไม่แข็งตัว (Pre-hardened Stage) ซึ่งคอนกรีตในช่วงนี้แทบจะไม่มีความสามารถในการรับแรงเค้นที่เกิดจากแรงดึง (Tensile … Read More
อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete) คือคอนกรีตมวลเบาหรืออิฐมวลเบา เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังสำหรับอาคารสูงหรือบ้านที่อยู่อาศัย เป็นวัสดุก่อที่นำเทคโนโลยีการผลิตมาจากต่างประเทศ มีทั้งแบบบล็อกตันและบล็อกกลวง (คล้ายคอนกรีตบล็อก) ขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักเบามากกว่าเนื่องจากมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ อิฐมวลเบามีขนาดมาตรฐาน กว้าง 20 x 20 เซนติเมตร และมีความหนาตั้งแต่ 7.5, 10, 12.5, … Read More
การเกิดสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งรอยแตกร้าว คราบน้ำสนิม การหลุดร่อนของคอนกรีต รวมไปถึงการพังทลายของโครงสร้าง ความเสียหายที่มักพบเนื่องจากสาเหตุการเกิดสนิมได้แก่ คราบน้ำสนิมบนผิวคอนกรีต รอยแตกร้าวเนื่องจากการขยายตัวของสนิมเหล็ก การระเบิดออกของผิวคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีการซ่อมแซมโครงสร้างดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ การซ่อมแซมการเกิดสนิมอีกวิธีวิธีที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างสูง ได้แก่ การใช้สารยับยั้งการเกิดสนิม ซึ่งมีความสะดวกในการดำเนินการ และอาจใช้ควบคู่ไปกับวิธีการป้องกันและซ่อมแซมอื่นๆ ได้ เพื่อให้ระบบการป้องกันและซ่อมแซมมีความประสิทธิภาพ และมีความคงทนมากยิ่งขึ้น สารยับยั้งการเกิดสนิม (Corrosion Inhibitor) … Read More