การใช้โปรแกรม STAAD.PRO กรณีที่โครงสร้างเสาที่มีขนาดเล็กและใหญ่มาบรรจบกันแบบไม่ตรงศูนย์กลางซึ่งกันและกัน

สวัสดัครับแฟนเพจที่รักทุกท่าน สืบเนื่องจากมีพี่ท่านหนึ่งได้หลังไมค์มาสอบถามผมเกี่ยวกับกรณีที่โปรแกรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น MIDAS GEN หรือ MICRO FEAP เองก็ดีนั้นสามารถที่จะทำการจำลองโครงสร้างจำพวก RIGID LINK สำหรับในกรณีที่โครงสร้างเสาที่มีขนาดเล็กและใหญ่มาบรรจบกันแบบไม่ตรงศูนย์กลางซึ่งกันและกัน แล้วโปรแกรม STAAD.PRO ทำได้หรือ ? (รูปที่ 1) คำตอบ คือ … Read More

ตารางแสดงค่า สปส แรงเสียดทาน หรือ FRICTION COEFFICIENT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทกุๆ ท่าน วันนี้แอดมินมีตารางที่แสดงให้ถึงค่า สปส แรงเสียดทาน หรือ FRICTION COEFFICIENT มาฝากเพื่อนๆ นะครับ เพื่อนหลายๆ คนอาจมีคำถามว่าค่า สปส นี้มีประโยชน์อย่างไร ? เราสามารถที่จะคำนวณหาค่าต่างๆ ได้หลายค่าจาก สปส แรงเสียดทานนี้ครับ เรามาดู … Read More

การจำลองโครงสร้างด้วยโปรแกรมทาง FINITE ELEMENT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักถึงส่วนประกอบหลักๆ เมื่อวิศวกรต้องการทำการจำลองโครงสร้างด้วยโปรแกรมทาง FINITE ELEMENT กันพอสังเขปนะครับ เมื่อใดก็ตามที่วิศวกรต้องการจะวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทาง FINITE ELEMENT ก็จะเริ่มต้นทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของโครงสร้างขึ้นมาก่อนครับ โดยที่องค์ประกอบหลักๆ ของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้จะประกอบไปด้วย (1) SIGN CONVENTION หรือ STRUCTURAL AXIS … Read More

การคำนวณหาค่าหน่วยแรงดัดในคานรับแรงดัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ วันนี้แอดมินต้องขออภัยที่มาพบกับเพื่อนๆ ช้าไปหน่อยนะครับ เพราะแอดมินเพิ่งประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์มา ยังไงต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ วันนี้แอดมินจะมายก ตย การนำคุณสมบัติต่างๆ ที่ได้พูดถึงไปเมื่อสองวันก่อนหน้านี้ไปใช้ในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงดัดในคานรับแรงดัดกันนะครับ ก่อนอื่นเรามาดูที่ค่าคุณสมบัติต่างๆ ของหน้าตัดกันก่อนนะครับ จะเห็นได้ว่าหลายๆ ครั้งเมื่อเราสั่งผลิตภัณฑ์จำพวกนี้มาใช้งานจะพบว่าผู้ผลิตจะทำการคำนวณคุณสมบัติเหล่านี้มาให้อยู่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานนั่นเองครับ ต่อมาเรามาคำนวณหาค่าแรงดัดมากที่สุด ซึ่งก็คือ แรงดัดที่กึ่งกลางคาน … Read More

ลักษณะของการเกิดการแตกร้าวในเนื้อคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในวันนี้ผมจะขอมายกตัวอย่างกันให้เห็นถึงลักษณะของการเกิดการแตกร้าวในเนื้อคอนกรีตกันต่อจากเมื่อวานนะครับ มาเริ่มต้นกันทีละภาพนะครับ (A) เริ่มจากภาพ (A) เป็นแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงการแตกร้าวของคอนกรีตทั้งแบบ STRUCTURAL CRACK และ NON-STRUCTURAL CRACK นะครับ จะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่นั้นจะเกิดจากการที่ผู้ทำงานไม่ใส่ใจที่จะดูแลเรื่องร่วเหล่านี้ไป ทั้งๆ ที่สามารถจะทำได้ตามปกติวิสัยของการทำงานอยู่แล้ว (B)     … Read More

โครงสร้างคอนกรีตหน้าตัดผสม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาเล่าต่อให้จบถึงหัวข้อที่ผมได้ค้างเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวันก่อนนะครับ นั่นก็คือเรื่องประเภทหลักๆ ของโครงสร้างคอนกรีตที่มีการใช้งานกันในวงการวิศวกรรมโยธาของบ้านเรา โดยที่เราสามารถแบ่งประเภทของโครงสร้างคอนกรีตออกได้เป็นทั้งหมด 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ (1) โครงสร้างคอนกรีตล้วน (2) โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (3) โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง (4) โครงสร้างคอนกรีตหน้าตัดผสม (รูป A) (รูป … Read More

การออกแบบโครงสร้างเหล็กด้วยวิธีพลาสติกที่ใช้สมรรถนะของโครงสร้างเป็นเกณฑ์ หรือ PBPD (PERFORMANCE BASED PLASTIC DESIGN)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน  เนื่องจากเมื่อวันก่อนที่แอดมินได้มีโอกาสเขียนบทความให้เพื่อนๆ ได้รู้จักถึงวิธีการออกแบบโครงสร้างเหล็กด้วยวิธีพลาสติกที่ใช้สมรรถนะของโครงสร้างเป็นเกณฑ์ หรือ PBPD (PERFORMANCE BASED PLASTIC DESIGN) ให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกันไปในเบื้องต้นแล้วว่า วิธีการออกแบบโครงสร้างเหล็กด้วยวิธีพลาสติกที่ใช้สมรรถนะของโครงสร้างเป็นเกณฑ์ หรือ PERFORMANCE-BASED PLASTIC DESIGN (PBPD) จะประกอบไปด้วยกระบวนการออกแบบขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้ครับ … Read More

วิศวกรโครงสร้าง หรือ STRUCTURAL ENGINEER

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ เนื่องในโอกาสที่แอดมินกำลังจะเข้าทำการศึกษาต่อในระดับ ป เอก ภายในช่วงเวลาประมาณต้นปีหน้านี้นะครับ ประกอบกับคำถามที่มักถูกถามบ่อยๆ เกี่ยวกับว่า เหตุใดแอดมินถึงเลือกสายงานอาชีพเป็น วิศวกรโครงสร้าง หรือ STRUCTURAL ENGINEER ? วันนี้เห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะ เลยอยากจะนำความรู้สึกของแอดมินเองมาเล่าสู่กันฟังให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันเป็นความรู้ด้วยก็น่าจะเป็นการดีครับ ในมุมมองของแอดมินนั้นสายงานวิศวกรรมโครงสร้าง หรือ STRUCTURAL … Read More

ระบบไร้แรงยึดเหนี่ยว หรือ ระบบ UNBOND

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดติดตามข่าวกันในช่วงระยะเวลาประมาณ 2-3 วันมานี้เราคงจะได้ยินข่าวที่อาคารร้างเก่าที่ก่อสร้างด้วยระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงเกิดการถล่มลงในระหว่างขั้นตอนการรื้อถอนจนเป็นเหตุให้เกิดคนงานเสียชีวิตกันไปบ้างนะครับ ในขณะนี้ทีมงานสำรวจของ วสท ได้เข้าสำรวจอาคารหลังนี้แล้วนะครับ และ คาดว่าใน 1-2 วัน ข้างหน้าน่าจะมีข้อสรุปถึงสาเหตุของการถล่มมาให้พวกเราได้รับทราบและเรียนรู้ร่วมกันนะครับ เมื่อถึงเวลานั้นแอดมินจะนำมาขยายความให้พวกเราได้รับทราบกันอีกครั้งนะครับ ในขณะนี้เป็นที่คาดหมายกันว่าระบบของพื้นคอนกรีตอัดแรงที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารหลังดังกล่าวนี้เป็นระบบไร้แรงยึดเหนี่ยว หรือ ระบบ UNBOND ครับ … Read More

ประเภทของเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ เนื่องจากมีคำถามที่ถามมายังแอดมินเข้ามาเยอะมากเกี่ยวกับเรื่องชนิด และ ประเภทของเสาเข็มนะครับ ทำให้แอดมินมีความเห็นว่าเพื่อเป็นการทำความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกันของเพื่อนๆ จึงอยากที่จะขออธิบายโดยแยกประเภทของเสาเข็มดังต่อไปนี้นะครับ (1) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของการรับกำลัง (2) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำ (3) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้าง (รูปที่ 1) โดยในวันนี้จะขอมาทำการอธิบายในหัวข้อที่ (2) การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำนะครับ (A) เสาเข็มไม้ … Read More

1 34 35 36 37 38 39 40 75