ตอกเสาเข็มรับพื้นโรงงาน หรือตอกขยายโรงงาน แนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

ตอกเสาเข็มรับพื้นโรงงาน หรือตอกขยายโรงงาน แนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ตอกเสาเข็มรับพื้นโรงงาน หรือตอกสร้างฐานรองรับเครื่องจักร การรับน้ำหนักได้มาตรฐาน เสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การตอกได้มาตรฐาน ISO ต้องเสาเข็มสปันไมโครไพล์แท้ ภูมิสยาม เสาเข็มสปันที่แข็งแกร่งเป็นที่ยอมรับของบริษัทชั้นนำเลือกใช้ ตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยและไม่กระทบโครงสร้างเดิม ต้องการเสาเข็มคุณภาพ ต้องเสาเข็มสปันไมโครไพล์ โดยภูมิสยาม … Read More

ฐานรากแผ่(ต่อ)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน สำหรับในโพสต์ล่าสุดของผมเกี่ยวกับเรื่องฐานรากแผ่นั้น ในตอนแรกผมตั้งใจที่จะโพสต์ๆ นั้นเป็นโพสต์สุดท้ายสำหรับช่วงเวลานี้ แต่ พอโพสต์ไปแล้วก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดี และ ได้มีคำถามต่อเนื่องตามมาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องๆ นี้ผมจึงอยากที่จะขอโพสต์ต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานรากแผ่ไปก่อนนะครับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบคำถามให้แก่เพื่อนวิศวกรที่ได้ถามผมมานั่นเองนะครับ คำถามที่เพื่อนวิศวกรได้สอบถามผมต่อเนื่องมาจากโพสต์ของเมื่อวาน คือ หากเราจะทำการก่อสร้างฐานรากแผ่วางบนดินในบริเวณที่ลาดเชิงเขาซึ่งหมายความว่าลักษณะของชั้นดินจะไม่ใช่เป็นแนวระดับในแนวราบเหมือนกรณีทั่วๆ ไปของการทำฐานรากแผ่นะครับ ในการก่อสร้างฐานรากแผ่วางตัวอยู่บนแนวพื้นที่มีความเอียงลาดนั้น ฐานรากตัวริมที่จะติดกับพื้นที่ลาดเอียงนั้น เราจะต้องตรวจสอบดูว่าระยะจากขอบนอกสุดส่วนบนของฐานราก (ระยะ V … Read More

ฐานรากแผ่

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอโพสต์ตอบคำถามแก่วิศวกรที่หลังไมค์มาถามผมต่อเนื่องจากโพสต์ช่วงนี้ของผมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องฐานรากแผ่นะครับ ซึ่งโพสต์ๆ นี้น่าที่จะเป็นโพสต์สุดท้ายของเรื่องๆ นี้ก่อนนะครับ แต่ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยและต้องการจะสอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องฐานรากแผ่ก็สามารถที่จะถามข้อสงสัยมายังผมได้เลยนะครับ หากผมพบว่าคำถามน่าสนใจและมีเวลาว่างผมจะรีบตอบข้อซักถามให้นะครับ คำถามวันนี้คือ หากเราเป็นคนทำงานก่อสร้างฐานรากบนดิน โดยในแบบระบุความลึกมาตรฐานที่เราต้องทำการวางปลายฐานรากเอาไว้แล้ว แต่ เมื่อเปิดหน้าดินมาพบว่าเราไม่สามารถที่จะขุดดินลงไปได้ลึกตามระดับที่กำหนดไว้ในแบบได้ อาจเนื่องด้วยดินมีความแข็งมากๆ และ ตอนทำการทดสอบดินไม่ว่าจะการทำ BORING LOG … Read More

แรงดันดินใต้ฐานราก (BEARING PRESSURE OF SOIL UNDER ON GRADE FOOTING)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากเมื่อหลายวันก่อนที่ผมได้โพสต์แชร์ความรู้ที่เกี่ยวกับฐานรากแผ่ (BEARING FOOTING) ไปนะครับ ผลปรากฎว่ามีน้องวิศวกรที่ให้ความสนใจติดตามอ่านกันเยอะพอสมควรนะครับ และ มีคำถามตามมาหลายคำถามนะครับ ผมก็ได้ทะยอยตอบไปบ้างแล้ว วันนี้ผมจะตอบอีกหนึ่งคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการออกแบบฐานรากแผ่ที่มีน้องวิศวกรท่านหนึ่งได้ติดตามและสอบถามผมมานะครับว่าอยากให้ผมแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องแรงดันดินใต้ฐานราก (BEARING PRESSURE OF SOIL UNDER ON GRADE FOOTING) นั่นเองครับ … Read More

คุณสมบัติของชั้นดิน ณ ตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมมีความรู้หัวข้อสั้นๆ ต่อจากโพสต์เมื่อวานของผมซึ่งเรื่องนี้จะมีความเกี่ยวข้องและจะส่งผลโดยตรงต่อค่าความเร่งตอบสนองเชิงเสปคตรัมที่เราจะใช้ในการออกแบบอาคารของเรานะครับ เรื่องนี้ก็คือเรื่อง คุณสมบัติของชั้นดิน ณ ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารของเรานั่นเองครับ โดยที่สภาพของชั้นดิน ณ บริเวณที่ตั้งของอาคารที่เราต้องการทำการออกแบบนั้นจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงระดับค่าความรุนแรงของการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ เช่น ชั้นดินอ่อนในเขต กทม จะมีคุณสมบัติที่จะขยาย (AMPLIFY) ขนาดของคลื่นแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่จะเดินทางมาจากแหล่งต้นกำเนิดแผ่นดินไหว หรือ รอยเลื่อนที่มีกำลัง (ACTIVE … Read More

ความคงทนของโครงสร้างคอนกรีต (DURABILITY OF CONCRETE STRUCTURES) เมื่อต้องมีการใช้งานในเขตชายฝั่งทะเล

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ช่วงนี้ผมมีงานออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างตัวหนึ่งที่ต้องไปทำการก่อสร้าง ณ เขต พท ริมชายทะเลของจังหวัดชลบุรี ในการออกแบบผมได้เลือกทำการกำหนดให้ใช้คอนกรีตชนิดพิเศษในงานก่อสร้าง ผมเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์หากนำความรู้ตรงนี้มาเผยแพร่แก่ทุกๆ ท่านด้วย จึงเป็นที่มาของโพสต์ในวันนี้เกี่ยวกับเรื่อง ความคงทนของโครงสร้างคอนกรีต (DURABILITY OF CONCRETE STRUCTURES) เมื่อต้องมีการใช้งานในเขตชายฝั่งทะเลนะครับ เพื่อนๆ เคยสงสัยหรือไม่ครับ ว่าเหตุใดเราจึงมักที่จะได้ยินอยู่บ่อยๆ … Read More

การงอปลายของเหล็กเสริม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการไขข้อข้องใจแก่เพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยสอบถามผมมาว่า เหตุใดในบางครั้งเมื่อเรามองดูเหล็กเสริมในฐานราก ไม่ว่าจะเป็น ฐานรากวางบนดิน หรือ ฐานรากวางบนเสาเข็ม ก็ตาม คือ การงอปลายของเหล็กเสริม เพราะ บางครั้งเราจะพบว่าที่ปลายของเหล็กเสริมในฐานรากจะถูกยืดออกโดยไม่มีการงอขอเลย และ ในบางครั้งก็จะพบว่าที่ปลายของเหล็กเสริมในฐานรากก็จะถูกงอขอ ? วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันนะครับ ในตอนเริ่มแรกเราจะมาดูรูป ตย ของปัญหาที่เรากำลังสนใจนี้กันก่อนนะครับ … Read More

วิธีการถ่ายแรงอย่างง่าย

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาขยายความต่อจากโพสต์เมื่อวานกันสักนิดอีกสักโพสต์นะครับ ทั้งนี้เพื่อที่เพื่อนๆ จะได้มีความเข้าใจในเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้น และ จะได้สามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้งานได้ในสถานการณ์จริงๆ นะครับ (รูปที่ 1) เรามาดู ตย ที่ผมเตรียมมาให้เพื่อนๆ ได้ดูกันในวันนี้เลยนะครับ เริ่มจากผมมีคานฝากซึ่งรับ CONCENTRATED LOAD ขนาด 10,000 kgf … Read More

ข้อด้อยของการเลือกใช้ระบบโครงสร้าง PRECAST CONCRETE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอโพสต์ต่อเนื่องจากโพสต์ของเมื่อวานนะครับ โดยที่เมื่อวานผมได้อธิบายไปแล้วถึงข้อดีหรือว่าข้อเด่นของการเลือกใช้ระบบโครงสร้าง คสล หรือ คอร สำเร็จรูป ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาพูดถึงข้อด้อยของการเลือกใช้ระบบโครงสร้างแบบนี้กันบ้างนะครับ เหมือนเดิมนะครับ ก่อนที่ผมจะเล่าให้ฟังนี้ก็ต้องขออธิบายเหมือนเดิมว่าข้อด้อยต่อไปนี้ผมทำการสรุปมาให้เพียงเท่านั้นนะครับ ที่สำคัญ หากหน่วยงานหรือองค์กรใดที่เลือกนำระบบก่อสร้างนี้ไปใช้ไม่มีความเป็นมืออาชีพในการทำงานเพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายมากกว่าที่ผมจะกล่าวสรุปให้ฟังนี้ก็เป็นได้นะครับ เรามาเริ่มต้นดูกันเลยนะครับ ทำให้การก่อสร้างเกิดความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น ทำไมผมถึงกล่าวเช่นนี้ครับ ? เพราะอย่างที่ผมเรียนไปตั้งแต่ต้นนะครับว่า … Read More

ข้อดีของระบบโครงสร้าง PRECAST CONCRETE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้กับเพื่อนๆ เรื่องหนึ่งที่เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้อธิบายกับเพื่อนวิศวกรที่ไซต์งานที่ผมไปตรวจงานมาเมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับระบบการก่อสร้างระบบหนึ่งซึ่งก็คือระบบโครงสร้าง PRECAST CONCRETE ซึ่งต้องถือว่าการก่อสร้างด้วยระบบๆ นี้เป็นระบบการก่อสร้างแบบ PREFABRICATION อย่างหนึ่งนั่นเองครับ ที่ผ่านมาเพื่อนๆ คงจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าระบบ PRECAST CONCRETE หรือ ระบบ คสล หรือ … Read More

1 31 32 33 34 35 36 37 75