สวัสดียามบ่ายครับ ทุกๆท่าน วันนี้ Mr.เสาเข็ม ได้นำความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างและงานวิศวกรรมมาฝากอีกเช่นเคยนะครับ วันนี้จะเป็นเรื่อง การพิจารณาแรงสำหรับทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างอาคารสูง
ในการที่เราจะทำการออกแบบอาคารสูงได้นั้น พื้นฐานหนึ่งที่เราต้องถือว่ามีความสำคัญมากประการหนึ่งที่ผู้ออกแบบจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจ คือ การวิเคราะห์แรงกระทำทางด้านข้าง (LATERAL LOAD) ที่กระทำกับตัวโครงสร้างอาคารนะครับ โดยที่จริงๆ แล้วแรงกระทำทางด้านข้างที่กระทำกับอาคารทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่เกิดจากแรงพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD) เพราะหากพิจารณาแล้วจะพบว่าแรงกระทำทางด้านข้างทุกๆ ประเภทของแรงนั้นมีการเคลื่อนที่แทบทั้งสิ้น แต่ ด้วยลักษณะของแรงกระทำ ลักษณะของการเสียรูปของอาคาร รวมไปถึงคุณสมบัติบางประการของตัวอาคาร ในบางครั้งเพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์โครงสร้างของวิศวกรผู้ออกแบบเราก็อาจที่จะพิจารณาให้บางกรณีของการออกแบบนั้นใช้วิธีในการวิเคราะห์โครงสร้างโดยวิธีทางสถิตยศาสตร์ (STATIC METHOD) ได้นะครับ แต่ เนื่องด้วยเหตุผลบางประการตามที่ผมได้กล่าวถึงไปแล้วข้างต้น ในการวิเคราะห์โครงสร้างบางประเภทเราก็อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยวิธีทางพลศาสตร์ (DYNAMIC METHOD) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นะครับ
โดยที่เราสามารถที่จะจำแนกประเภทของแรงกระทำทางด้านข้างออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
(1) แรงกระทำจากลม (WIND LOAD)
ลักษณะของแรงกระทำเนื่องจากแรงลมนั้นมักจะมีรูปแบบที่แรงนั้นกระทำกับตัวโครงสร้างแบบไม่ต่อเนื่อง โดยการเสียรูปของโครงสร้างมักที่จะเกิดในลักษณะแบบทิศทางเดียว (ONE WAY MOVEMENT) ตลอดช่วงระยะเวลาที่เกิดแรงกระทำ ดังนั้นในการออกแบบเราอาจจะสามารถตั้งสมมติฐานว่าแรงกระทำนั้นเป็นแรงแบบสถิตย์ (STATIC LOAD) ได้นะครับ ดังนั้นเราอาจจะอาศัยวิธีในการวิเคราะห์โครงสร้างเนื่องจากแรงกระทำในลักษณะนี้โดยวิธีทางสถิตยศาสตร์ได้นะครับ
(2) แรงกระทำจากแผ่นดินไหว (SEISMIC LOAD)
ลักษณะของแรงกระทำเนื่องจากแรงแผ่นดินไหวนั้นมักจะมีรูปแบบที่แรงนั้นกระทำกับตัวโครงสร้างแบบต่อเนื่อง โดยการเสียรูปของโครงสร้างมักที่จะเกิดในลักษณะแบบกลับไปกลับมา (CYCLIC MOVEMENT) ตลอดช่วงระยะเวลาที่เกิดแรงกระทำ ดังนั้นในการออกแบบเราอาจจะต้องตั้งสมมติฐานว่าแรงกระทำนั้นเป็นแรงแบบวัฎจักร (CYCLIC LOAD) นะครับ ดังนั้นหากว่าอาคารของเรานั้นมีคุณลักษณะต่างๆ ที่ไม่ถือว่าวิกฤตต่อแรงกระทำเนื่องจากแผ่นดินไหว ลักษณะรูปทรงของอาคารมีลักษณะทั่วๆ ไปที่ค่อนข้างจะปกติ เราอาจจะอาศัยวิธีในการวิเคราะห์โครงสร้างเนื่องจากแรงกระทำในลักษณะนี้โดยวิธีทางสถิตยศาสตร์ได้นะครับ แต่ หากว่าอาคารของเรานั้นมีคุณลักษณะต่างๆ ที่ถือว่ามีความวิกฤตต่อแรงกระทำเนื่องจากแผ่นดินไหว ลักษณะรูปทรงของอาคารมีลักษณะที่ค่อนข้างไม่ปกติ เราก็อาจที่จะมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยวิธีในการวิเคราะห์โครงสร้างเนื่องจากแรงกระทำในลักษณะนี้โดยวิธีทางพลศาสตร์แทนนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1491738600872260
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449