ตารางแสดงความลึกของหลุมเจาะสำหรับเป็นแนวทางการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัด

ตารางแสดงความลึกของหลุมเจาะสำหรับเป็นแนวทางการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัด

ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม เสาเข็มตอก micropile spun micro pile

ก่อนอื่น เริ่มต้นดูรูปที่แสดงตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัดกันก่อนนะครับ หากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ จะพบว่าช่องที่แสดงค่า ความลึกของหลุมเจาะ ในตารางๆ นี้จะมีความแตกต่างออกไปจากตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในเขตพื้นที่ กทม และ ปริมณฑล ที่เคยนำมาเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้นะครับ

โดยที่ในช่องๆ นี้ของตารางที่แสดงนี้จะไมได้แสดงค่าความลึกของหลุมเจาะตรงๆ แต่ กลับแสดงว่าระยะนี้จะมีค่าเท่ากับระยะความลึกที่เมื่อทำการทดสอบ SPT เพื่อที่จะหาค่า N VALUE นั้นมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับเท่าใดนะครับ

เมื่อเพื่อนๆ เห็นความแตกต่างของทั้งสองตารางนี้แล้วเกิดความสงสัยกันหรือไม่ครับว่าเพราะเหตุใดทั้งสองตารางนี้จึงมีความแตกต่างกัน ?

ผมขออนุญาตคลายความสงสัยแก่เพื่อนๆ ดังนี้นะครับ เนื่องจากว่าสภาพชั้นดินของกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลนั้นมีลักษณะของชั้นดินที่ค่อนข้างมีลักษณะที่พิเศษแตกต่างออกไปจากสภาพพื้นดินในภูมิภาคอื่นๆ นะครับ กล่าวคือ สภาพดินชั้นบนๆ ในบริเวณกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลนั้นมีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนที่ได้ตกตะกอนและทับถมกันเป็นชั้นดินบางๆ โดยที่ความหนาของชั้นดินที่ว่านี้จะมีความหนาเฉลี่ยโดยประมาณอยู่ที่ 18 ม ถึง 20 ม และ ที่ระดับความลึกที่มากกว่านั้นดินจะค่อยๆ ทวีความแข็งแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประเด็นๆ นี้เองนะครับคือปัจจัยหลักที่ทำให้ทั้งสองตารางนี้มีความแตกต่างกัน ซึ่งสภาพของชั้นดินในเขตภูมิภาคอื่นๆ นั้นค่อนข้างที่จะมีความแข็งแรงมากกว่าในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลมากๆ นะครับ โดยที่สภาพของชั้นดินในเขตภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทยในบางพื้นที่นั้นก็อาจที่จะมีลักษณะคล้ายๆ กันกับในเขตกรุงเทพมหานครได้นะครับ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยการทดสอบ SPT เพื่อที่จะหาค่า N VALUE เป็นการยืนยันว่า ณ ความลึกของดิน ณ ชั้นนั้นๆ มีความแข็งแรงมากเพียงพอแล้วนะครับ

โดยที่ในวันนี้ผมได้นำหลักการในการกำหนดความลึกและตำแหน่งในการเจาะสำรวจตัวอย่างดินที่กล่าวไว้ในเอกสารที่ใช้ในการอบรมการสำรวจชั้นดิน การออกแบบและการก่อสร้างงานฐานราก หน้า 312 ซึ่งจัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในปี พศ 2550 ด้วยนะครับ

โดยการกำหนดความลึกนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความแปรปรวนของชั้นดิน น้ำหนัก และ ความสำคัญ ของสิ่งก่อสร้าง โดยที่เราอาจจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้นะครับ

1) จะต้องมีหลุมเจาะนาร่อง ที่ตำแหน่งสำคัญที่สุดในฐานรากนั้น เช่นบริเวณที่น้าหนักลงมากที่สุด อาคารที่สูงสุดในพื้นที่ก่อสร้าง หลุมนาร่องนี้ต้องมีอย่างน้อย 1 จุด

2) จะต้องมีหลุมเจาะครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะการกระจายออกคลุมพื้นที่บริเวณฐานรากทั้งหมด เพื่อให้ทราบความเปลี่ยนแปลงของชั้นดินในแนวราบ โดยมีระยะตามข้อเสนอแนะในตารางที่ผมได้นำมาฝากๆ เพื่อนๆ ไปแล้วนะครับ

3) จะต้องมีหลุมเจาะเสริม หรือ การทดสอบในสนาม หรือการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ๆ มีความกว้างมาก หรือ เป็นแนวยาวมากๆ นะครับ

ยังไงในตอนสุดท้ายนี้ผมก็ยังอยากที่จะขอเน้นย้ำกับเพื่อนๆ อีกครั้งก็แล้วกันนะครับว่าการทดสอบดินนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเริ่มต้นการทำงานในโครงการก่อสร้าง เพราะ หากขาดขั้นตอนนี้ไปแล้วในไม่ช้าก็เร็ว ก็อาจจะทำให้เรานั้นต้องพบเจอกับปัญหาต่างๆ มากมายในการทำการก่อสร้างได้นะครับ ดังนั้นก็ขออย่าให้เพื่อนๆ นั้นมองข้ามขั้นตอนการทำงานนี้ไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1571392792906840

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์