การเจาะสำรวจดิน (Soil Boring Test) จุดเริ่มต้นที่ดีของโครงการก่อสร้าง

สภาพชั้นดินในหลายพื้นที่ของประเทศไทยนั้นอาจมีความแปรปรวนของชั้นดิน ทำให้สภาพพื้นที่แตกต่างไปจากพื้นที่ทั่วไป เช่น มีชั้นทรายหลวมผิดปกติ มีชั้นดินเหนียวอ่อน หรือระดับความลึกของชั้นดินที่แข็งแรงมีความผันแปรสูง เป็นต้น จากสภาพของชั้นดินดังกล่าว อาจทำให้ฐานรากเกิดการวิบัติได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ก่อนที่วิศวกรจะทำการออกแบบฐานรากให้ดีและเหมาะสมนั้น จึงต้องจัดให้มีการเจาะสำรวจดินอย่างเพียงพอ เพื่อให้การออกแบบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นไปอย่างละเอียดรอบครอบ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เพื่อการวิเคราะห์ดินจากประสบการณ์และการสังเกต เมื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับดินในส่วนใดแล้ว จะต้องมีการวางแผนการสำรวจดิน เพื่อให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย … Read More

การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร จนน้ำซึมเข้าในอาคารหรือตัวบ้าน

ดาดฟ้า เป็นบริเวณสำคัญที่ช่วยปกป้องบ้านและอาคาร เนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องรับน้ำฝนและแสงแดดโดยตรง ควรดูแลรักษาดาดฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจะช่วยป้องกันปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม เพราะน้ำที่ซึมเข้าไปจะทำให้เหล็กเส้นโครงสร้างภายในคอนกรีตเป็นสนิม และดันคอนกรีตปริแตก ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคารได้ สาเหตุ ของปัญหาพื้นดาดฟ้าร้าว รั่ว คอนกรีตกระเทาะหลุดร่อน มาจากน้ำรั่วซึมจากดาดฟ้า ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นอาคารเก่าที่ไม่ได้ทำระบบกันซึมเอาไว้ หรืออาจจะทำแล้วแต่ว่าเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หรือเกิดจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การเทพื้นดาดฟ้าไม่ได้ระดับทำให้เกิดน้ำขังเป็นแอ่ง ส่งผลให้น้ำซึมเข้ามาถึงเหล็กโครงสร้างจนเกิดสนิม เมื่อเหล็กเริ่มเป็นสนิมจะเกิดการพองตัวไปดันคอนกรีตที่หุ้มผิวด้านนอกจนแตกร้าวและหลุดร่อนออกมา การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร ส่วนดาดฟ้า … Read More

แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดมีรูกลวง (Hollow Core Slab)

แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง เป็นมิติใหม่ของพื้นสำเร็จรูป มีการออกแบบให้มีขนาดของหน้าตัดและความยาวที่แตกต่างกันออกไป เพื่อที่จะทำการรับน้ำหนักของน้ำหนักบรรทุก เพื่อทดแทนการใช้งานของพื้นที่ทำการเทหล่อในที่ ใช้สำหรับการก่อสร้างอาคารพักอาศัย คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงานและโรงงานอุตสาหกรรม สะดวกสำหรับการก่อสร้าง ติดตั้งได้รวดเร็ว ทำให้สามารถกำหนดช่วงระยะเวลาการก่อสร้างได้อย่างถูกต้อง คุณสมบัติอื่นๆ ของแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง ผิวเรียบทำให้ไม่จำเป็นต้องฉาบปูนหรือติดตั้งฝ้าเพดาน ช่วงยาวสามารถใช้งานในความยาวต่างๆ กันได้ สะดวกและประหยัด เนื่องจากไม่ต้องใช้ค้ำยันชั่วคราวในการก่อสร้าง จึงประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน (ยกเว้นความหนา … Read More

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก…เรื่องพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยที่นิยมกันทั่วไปมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ พื้นสำเร็จวางบนคานและพื้นชนิดวางบนดิน การก่อสร้างพื้นทั้ง 2 ชนิดนี้มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนมากนัก พื้นสำเร็จวางบนคาน (Slap on Beam) พื้นชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักลงสูงโครงสร้างอาคารในแนวเดียวลงสู่คานที่ได้ออกแบบไว้สำหรับรับน้ำหนักจากแผ่นพื้น แผ่นพื้นชนิดนี้โดยปกติจะมีความยาว 2 – 5 เมตร และมีความกว้าง … Read More

เสาตอม่อ (Ground Column) เสาต้นสั้นๆ แต่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับงานโครงสร้าง

เสาตอม่อ (Ground Column) คือ เสาสั้นส่วนที่อยู่ล่างสุดระหว่างฐานรากกับคาน โดยทั่วไปเสาตอม่อจะจมอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่รับแรงอัดหรือน้ำหนักในทางดิ่ง แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากและเสาเข็ม เสาตอม่อ จะเป็นเสาสั้นๆ ส่วนมากจะมีความสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร แต่เป็นเสาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของเสาที่อยู่ชั้นบน ขั้นตอนการก่อสร้างเสาตอม่อ เนื่องจากว่าเสาตอม่อนั้นจะวางอยู่บนฐานราก ดังนั้นจึงเริ่มจากงานฐานรากก่อน โดยในตอนก่อสร้างฐานรากนั้นจะต้องวางเหล็กเสริมเสาตอม่อไปพร้อมกับฐานราก และต้องตรวจสอบให้เสาตอม่ออยู่กึ่งกลางฐานราก … Read More

ลักษณะโครงสร้างชั้นดินเหนียวกรุงเทพ หรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า Bangkok Clay

ดินเหนียวอ่อนโดยทั่วไปเป็นดินท่ีตกตะกอนอยู่บริเวณปากแม่น้ํา โดยลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณน้ีเม็ดดินจะถูกพัดพาจากแม่น้ำลงสู่ทะเลและน้ำทะเลก็หนุนกลับเข้ามาตกตะกอน ทําให้ชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีทั้งแบบตกตะกอนในแม่น้ําและในทะเล ซึ่งเป็นลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่างหรือที่เรียกว่าดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok Clay) โดยมีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนหนาประมาณ 10-15 เมตร ชั้นถัดไปจะเป็นชั้นดินเหนียวแข็งและชั้นทรายสลับกันไป ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ (Bangkok Clay) มีลักษณะชั้นดินและคุณสมบัติของดิน ดังนี้ ชั้น Crust ที่มีความลึกประมาณ 0-2 เมตร … Read More

ฐานราก (Footing) แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดมีอะไรบ้าง

ฐานราก (Footing) ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมดแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มหรือดินโดยตรง คุณสมบัติของดินที่รองรับฐานรากควรมีความสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัวหรือพังทลายของดินใต้ฐานรากและต้องไม่เกิดการทรุดตัวลงมากจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้าง ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากซึ่งลึกจากระดับผิวดินน้อยกว่า หรือเท่ากับด้านที่สั้นที่สุดของฐานราก โดยฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับสภาพพื้นดินท่ีมีความสามารถแบกรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง และกับสภาพพื้นดินท่ีตอกเสาเข็มไม่ลงหรืออย่างยากลำบาก เช่น … Read More

สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor)

การเกิดสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งรอยแตกร้าว คราบน้ำสนิม การหลุดร่อนของคอนกรีต รวมไปถึงการพังทลายของโครงสร้าง ความเสียหายที่มักพบเนื่องจากสาเหตุการเกิดสนิมได้แก่ คราบน้ำสนิมบนผิวคอนกรีต รอยแตกร้าวเนื่องจากการขยายตัวของสนิมเหล็ก การระเบิดออกของผิวคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีการซ่อมแซมโครงสร้างดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ การซ่อมแซมการเกิดสนิมอีกวิธีวิธีที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างสูง ได้แก่ การใช้สารยับยั้งการเกิดสนิม ซึ่งมีความสะดวกในการดำเนินการ และอาจใช้ควบคู่ไปกับวิธีการป้องกันและซ่อมแซมอื่นๆ ได้ เพื่อให้ระบบการป้องกันและซ่อมแซมมีความประสิทธิภาพ และมีความคงทนมากยิ่งขึ้น

การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking)

การแตกร้าวของถนนนั้นมักจะเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัวหรือเป็นที่รู้จักกันในเชิงวิชาการคอนกรีตว่า การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking) ซึ่งนอกจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับงานถนนแล้วยังเกิดกับงานประเภทพื้นที่อยู่กลางแจ้งอื่นได้อีกด้วย อาทิ พื้นนอาคาร, ดาดฟ้าและลานประเภทต่างๆ เป็นต้น การแตกร้าวในลักษณะน้ีจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต่างกับการแตกร้าวเนื่องจากคอนกรีตหดตัวแบบแห้งซึ่งจะเป็นเส้นค่อนข้างตรง และยาว ที่มักจะเกิดข้ึนเมื่อไม่มีการตัดรอยต่อที่ถูกต้อง

สาเหตุของการเกิดรอยร้าวของคอนกรีต ก่อนที่คอนกรีตจะเริ่มแข็งตัว

การแตกร้าวของคอนกรีตเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้น แต่บางครั้งถ้าหากเทคอนกรีตไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างรอยร้าวขึ้นมาได้ ในบล็อกนี้ได้เอาปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีตก่อนที่ของคอนกรีตจะเริ่มแข็งตัวมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 – 8 ชั่วโมง ภายหลังจากการเทคอนกรีต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้ การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement) รอยร้าวชนิดนี้มีสาเหตุมาจากความชื้น ซึ่งจะทำให้แบบพองตัวหรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอรับน้ำหนักของคอนกรีตได้ อย่างไรก็ตามวัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปู … Read More

1 2 3 4 5 6 7