การทำการทดสอบงานดินหรือ BORING LOG การทำการเปรียบเทียบผลการทดสอบดินจากการทำการเจาะสำรวจก่อนการก่อสร้าง

การทำการทดสอบงานดินหรือ BORING LOG การทำการเปรียบเทียบผลการทดสอบดินจากการทำการเจาะสำรวจก่อนการก่อสร้าง

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการยกตัวอย่างกรณีศึกษาหนึ่งของการทำการทดสอบงานดินให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับกันนั่นก็คือ การทำการเปรียบเทียบผลการทดสอบดินจากการทำการเจาะสำรวจก่อนการก่อสร้างและในขณะที่ได้ทำการก่อสร้างตัวเสาเข็มเจาะจริงๆ

micropile-ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ micropile-ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ micropile-ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์

เรามักจะไม่ค่อยได้พบเจอกับกรณีของการทดสอบดินแบบนี้ได้บ่อยนักนะครับ เพราะว่าโอกาสที่จะทำการทดสอบดินในลักษณะนี้จะพบเจอได้ค่อนข้างยากมากเลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่เราจะมีโอกาสพบเจอกรณีของการทดสอบแบบนี้ได้ในงานก่อสร้างโครงสร้างจำพวกเสาเข็มเจาะที่อยู่ในฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับตอม่อของสะพานในงานของทางราชการเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ

ก่อนที่จะทำการก่อสร้างก็จะมีการทดสอบชั้นดินในบริเวณใกล้เคียงสถานที่ก่อสร้างนั้นๆ ก่อน เมื่อนำตัวอย่างดินเข้าห้องปฏิบัติการเสร็จเรียบร้อยทางวิศวกรธรณีเทคนิคก็จะทำการออกแบบเสาเข็มจากข้อมูลงานดินที่ได้เก็บขึ้นมานี้ก่อน ในขณะที่ทำการก่อสร้างเสาเข็มเจาะจริงๆ ก็จะมีการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างของดินในหลุมเจาะขึ้นมาเพื่อนำไปทดสอบเพื่อทำการเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการเก็บตัวอย่างดินไปตอนต้นด้วย

ข้อดีหลักๆ ของการทำการทดสอบดินในลักษณะแบบนี้คือ จะเป็นการยืนยันผลจากการออกแบบว่าคุณลักษณะของชั้นดินจริงๆ จะมีความเหมือนหรือแตกต่างออกไปจากชั้นดินที่ได้ทำการเก็บไปตั้งแต่ในครั้งแรกมากหรือน้อยเพียงใด หากการเปรียบเทียบพบว่าชั้นดินจริงๆ นั้นมีความแข็งแรงน้อยกว่าที่ได้รับการออกแบบไปจากข้อมูลชุดแรกก็จะสามารถทำการแก้ไขตัวโครงสร้างเสาเข็มเจาะได้ทันถ่วงที เพราะต้องไม่ลืมว่าโครงสร้างจำพวกเสาเข็มเจาะที่อยู่ในฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับตอม่อของสะพานเป็นโครงสร้างที่ถือได้ว่าเป็นโครงสร้างสาธารณะที่มีความสำคัญมากๆ จะยอมให้เกิดความเสียหายจากการใช้งานไม่ได้เลย

จากรูปเป็นตัวอย่างของการเปรียบเทียบผลการทดสอบดินจากการทำการเจาะสำรวจก่อนการก่อสร้างและในขณะที่ได้ทำการก่อสร้างตัวเสาเข็มเจาะจริงๆ ซึ่งจะพบได้ว่าคุณสมบัติของชั้นดินจริงๆ นั้นจะมีค่าความผิดเพี้ยนออกไปบ้าง ซึ่งพอทำการคำนวณออกมาก็จะช่วยทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เสาเข็มเจาะจริงๆ ของเรานั้นมีความแข็งแรงเพียงพอต่อการรับน้ำหนักบรรทุกที่ได้รับการออกแบบเอาไว้ตั้งแต่ในครั้งแรกหรือไม่นั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449