สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่ในวันนี้ผมจะขอทำการแทรกเนื้อหาการนำผลการทดสอบดินที่ผมไปพบมาจากการทำงานจริงๆ ของผมมาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ก็แล้วกันนะครับ
โครงการก่อสร้างแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณซอยของถนนรามคำแหง ซึ่งหากดูแบบหยาบๆ และผิวเผินแล้วก็อาจจะพบว่าสภาพของชั้นดินนั้นน่าที่จะมีความปกติเพราะดินเดิมนั้นเป็นดินที่มีอยู่เดิม และ จะมีส่วนดินใหม่ที่เปผ้นดินถมที่ผิวซึ่งมีความหนาประมาณ 1.5-2 ม เท่านั้นเองนะครับ
(รูปที่1)
ไล่ตั้งแต่ดินชั้นบนๆ โดยเฉพาะที่ด้านล่างนั้นค่อนข้างที่จะเป็นดินที่มีความสม่ำเสมอในระดับปานกลางนะครับ คือ มีการแปรปรวนที่ไม่มากจนเกินไปนัก และ ต้องถือว่าดินชั้นบนๆ นั้นเป็นชั้นดินที่มีความ อ่อนมาก ถึง อ่อนปานกลาง ซึ่งตามปกติแล้วดินชั้นบนๆ จะเป็นชั้นดินเหนียว ดินชั้นล่างๆ จะเป็นดินเหนียวปนทราย หรือ ไม่ก็ทรายล้วน แต่หากสังเกตจากรูปที่ 1 จะเห็นเห็นได้ว่า ชั้นดินจะเกิดการวางตัวแบบสลับกันไปสลับกันมานะครับ
(รูปที่2)
ตามปกติแล้วยิ่งเสาเข็มของเราวางอยู่ลึกลงไปเท่าใดก็จะยิ่งมีค่าความสามารถในการรับกำลังที่สูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่หากดูจากรูปที่ 2 ซึ่งเป็นเข็มสั้น ความลึกของเสาเข็มตั้งแต่ 1 ถึง 3 เมตร ค่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.91 ตัน/ต้น แต่ พอที่ความลึกเท่ากับ 4 เมตร จะพบว่าดินจะมีความสามารถในการรับกำลังที่ลดต่ำลงไปเป็น 1.10 ตัน/ต้น และค่อยเพิ่มค่าขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ
(รูปที่3)
หากดูรูปที่ 3 เราจะทราบกันตามปกติว่า ชั้นดินโดยทั่วไปในเขต กทม หากใช้เข็มไอขนาด 300 มม ที่ความลึก 21 ม ค่าความสามารถในการรับ นน จะอยู่ที่ประมาณ 30 ตัน/ต้น หากยิ่งเพิ่มความยาวของเสาเข็มให้มากยิ่งขึ้นค่าความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นไปตามลำดับ แต่ สำหรับกรณีนี้ หากเราทำการกำหนดความยาวเสาเข็มให้เท่ากับ 21 ม เราจะพบว่าค่าความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มจะอยู่ที่ 29 ตัน/ต้น แต่ พอดูที่ชั้นความลึกที่ 22 ม คือถัดลงไปจากชั้น 21 ม ลงไปอีกเพียง 1 ม ค่าความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มจะลดลงไปเหลือ 25 ตัน/ต้น นั่นเป็นเพราะตรงนี้เราเจอชั้นดินที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือชั้นดินข้างล่างมีความอ่อนตัวกว่าชั้นดินด้านบน โดยเป็นเพียงชั้นบางๆ กั้นเอาไว้ซึ่งมีความหนาประมาณ 2 ม ดังนั้นตามหลักการในการออกแบบเสาเข็มที่ดีและถูกต้องนั้น เราต้องทำการออกแบบให้เสาเข็มนั้นสามารถที่จะมีค่าความสามารถในการรับ นน ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ความลึกของเสาเข็มที่ประมาณ 25 ม นั่นเองครับ
(รูปที่4)
โดยรูปที่ 4 จะเป็นรูปแผนภูมิแสดง BORING LOG ของชั้นดิน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความแกว่งของค่า SPT-N VALUES ซึ่งจะยืนยันถึงข้อมูลการทดสอบดินตามที่ผมได้แจ้งไปก่อนหน้านี้ครับ
ในวันพฤหัสบดีหน้าผมจะขออนุญาตมาพูดถึงข้อแนะนำสำหรับ จำนวน และ ระดับความลึก ของหลุมเจาะเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบฐานรากและเสาเข็ม หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ต่อไปในสัปดาห์หน้านะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน
#ขั้นตอนในการเจาะสำรวจดิน
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com