สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
เนื่องจากในเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการโพสต์เพื่อที่จะแชร์ความรู้และตอบคำถามให้แก่เพื่อนของผมท่านหนึ่งที่ได้ทำการสอบถามเข้ามาว่า
“ผมกำลังจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารโรงงานในจังหวัดทางภาคอีสาน โดยที่ต้องการจะใช้ระบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION โดยที่ผมตั้งใจที่จะทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT ดังนั้นผมจึงอยากที่จะทำการกำหนดให้จุดรองรับนั้นมีสภาพเป็นสปริงแบบยืดหยุ่นหรือ ELASTIC SPRING ซึ่งตอนนี้ผมกำลังมีปัญหาว่า ผมไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งหรือ STIFFNESS ในทิศทางของแกน x y และ z ได้อย่างไร รบกวนช่วยขอคำชี้แนะด้วยครับ”
โดยที่ผมก็ได้เริ่มต้นทำการโพสต์ๆ การให้คำแนะนำถึงวิธีในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินเอาไว้โดยสังเขปว่า ให้เราเริ่มต้นจากการสำรวจชั้นดิน ตามมาด้วยการคำนวณหาค่า Kv Kh และ Kr ทั้งนี้เราสามารถที่จะทำการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในแต่ละแกนได้จากเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความแข็งแกร่งของดินกับค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินหรือ SHEAR MODULUS OF SOIL หรือ Gsoil ทั้งนี้ค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินนี้ก็จะมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินหรือ ELASTIC MODULUS OF SOIL หรือ Esoil โดยที่อีกค่าหนึ่งที่เราควรจะทราบก็คือ ค่าอัตราส่วนปัวซองต์ซองของดินหรือ POISSON’S RATIO OF SOIL หรือค่า vsoil ซึ่งค่าๆ นี้จะมีค่าโดยประมาณอยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.50 จากนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินได้จากสมการๆ นี้
Gsoil = Esoil / 2(1+vsoil)
ทั้งนี้ผมก็ยังได้ให้คำแนะนำไปอีกว่าเราสามารถที่จะทำการคำนวณหาค่า Esoil นี้จากการจำแนกประเภทของชั้นดินโดยอาจจะใช้ค่าที่ BOWLES ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ดังที่ได้แสดงอยู่ในรูปในโพสต์ที่แล้วก็ได้ ทีนี้ก็ได้มีเพื่อนบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งได้กรุณาสอบถามผมเข้ามาโดยมีผลสืบเนื่องมาจากคำถามข้อนี้โดยมีใจความของคำถามว่า
“หากเราได้สั่งการให้มีการเจาะสำรวจสภาพของดินและเราทราบคุณลักษณะและชนิดของชั้นดินในสถานที่ก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่สิ่งต่อมาที่มีความกังวลก็คือ จากสภาพของคุณลักษณะของชั้นดินที่ทราบจากการทำการทดสอบดินนั้นอาจจะไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือเท่าใดนัก ไม่ทราบว่าหากเราจะไม่ทำการประเมินค่า Esoil นี้จากลักษณะหรือประเภทของชั้นดินตามคำแนะนำของอาจารย์ตามเนื้อหาในโพสต์ที่แล้ว เราจะมีวิธีการอื่นๆ ในการที่จะคำนวณหาค่า Esoil นี้ได้อีกหรือไม่ครับ?”
ซึ่งผมก็ได้ทำการชี้แจงต่อไปอีกว่าเมื่อเราได้ทำการเจาะสำรวจหาข้อมูลต่างๆ ของชั้นดินก็จะทำให้เราทราบข้อมูลของ 2 พารามิเตอร์ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าพารามิเตอร์ที่มีประโยชน์ต่อการทำงานออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากมากๆ ซึ่ง 2 ค่านี้ก็คือค่า STANDARD PENETRATION TEST หรือค่า SPT และค่า CONE PENETRATION TEST หรือ CPT นั่นเองครับ
จนมาถึงล่าสุดผมก็ยังคงได้รับคำถามต่อเนื่องมาจากแฟนเพจหลายๆ ท่านเพิ่มเติมเช้ามาอีกเกี่ยวกับประเด็นๆ นี้ ดังนั้นผมจึงอยากจะขออนุญาตนำเอาและหยิบยกเอาคำถามๆ นี้มาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ดังนี้นะครับ
“รบกวนสอบถามอาจารย์ว่า ผมเข้าใจว่าตามปกติในการทำงานการทดสอบดินทางผู้ทำการทดสอบงานดินนั้นจะต้องทำการทดสอบหาทั้งค่า SPT และ CPT ให้แก่เจ้าของงานแต่ในสถานการณ์จริงๆ หลายๆ ครั้งก็อาจจะพบได้เหมือนกันว่าผู้ทำการทดสอบดินก็มักที่จะทำการทดสอบและให้มาเฉพาะแค่ค่า SPT เพียงอย่างเดียวแต่หากว่าเราต้องการที่จะทราบผลจากการทดสอบค่า CPT ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะนำค่าดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณหาค่า Esoil เพื่อเปรียบเทียบกันกับค่าที่ได้จากการคำนวณจากค่า SPT หากว่าเป็นเช่นนี้เราควรที่จะทำเช่นใดดี รบกวนช่วยตอบให้ด้วยนะครับ?”
ด้วยความยินดีเลยครับ เอาเป็นว่าในทุกครั้งๆ ก่อนที่จะทำการทดสอบดินนั้น ผมก็ขอให้คำแนะนำว่าเพื่อนๆ ควรที่จะทำการแจ้งกับทีมผู้ทำการทดสอบดินก่อนเสมอว่าเราต้องการที่จะทราบค่าใดๆ จากการทดสอบเป็นพิเศษ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแน่ใจได้จริงๆ ว่าในท้ายที่สุดเราจะได้ผลของการทดสอบที่เราต้องการที่จะทราบจริงๆ มาใช้ในการคำนวณของเราและสำหรับกรณีปัญหาของการที่เรานั้นทราบเฉพาะค่า SPT และไม่มีผลจากทดสอบหาค่า CPT หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นจริงๆ ก็ยังพอมีที่จะทางออกของปัญหาอยู่นะครับ
โดยที่เราอาจจะพิจารณาใช้งานค่าๆ นี้ได้โดยอาจจะสามารถดูได้จากตารางซึ่งจะแสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันของค่าทั้งสอง ซึ่งหากเพื่อนๆ ดูตารางที่ผมได้นำมาแสดงให้ดูในโพสต์ๆ นี้ก็จะเห็นได้ว่าตัวของผมเองเคยได้โพสต์และแชร์ความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ไปในเพจก่อนหน้านี้สักพักแล้ว
ซึ่งผมก็ต้องขออนุญาตทำการเน้นย้ำกับเพื่อนๆ กันอีกสักรอบว่าจากตารางๆ นี้เป็นเพียงการวัด CONSISTENCY ของตัวดินเพียงเท่านั้นเพราะในความเป็นจริงนั้นก็มีนักวิชาการหลายๆ ท่านที่ได้พยายามหาความสัมพันธ์อื่นๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนค่า N ที่เรามักที่จะทราบนี้ ให้ไปเป็นคุณสมบัติของดินทางด้านต่างๆ เช่น กำลังความสามารถในการรับแรงเฉือนของดิน เป็นต้นครับ
เอาเป็นว่าในสัปดาห์หน้าที่เราจะต้องมาพบเจอกันครั้งต่อไปผมคงมีความจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตทำการพูดและรวบรัดให้จบเกี่ยวกับเรื่องวิธีในการคำนวณหาค่า Esoil นี้แล้วเพราะหากว่าผมจะต้องพูดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ให้ครอบคลุมถึงเนื้อหาทั้งหมดจริงๆ ก็อาจที่จะต้องใช้เวลาเนิ่นนานมากจนเกินไป ยังไงผมก็คงจะขอทำการอธิบายถึงเรื่องๆ นี้แค่เพียงสังเขป ทั้งนี้เพื่อให้เพื่อนๆ นั้นสามารถที่จะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องๆ นี้ในระดับหนึ่งและสามารถที่จะนำเอาองค์ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้งานได้ในเบื้องต้นครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#อธิบายถึงขั้นตอนในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้นครั้งที่3
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com