สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่ผมจะมายกตัวอย่างถึงปัญหางานวิศวกรรมโครงสร้างที่พบได้จริงๆ ในชีวิตประจำวันของเราๆ ซึ่งในวันนี้ผมจะหยิบยกเอากรณีของปัญหาต่อเนื่องจากปัญหาในสัปดาห์ที่แล้วนะครับ
โดยที่ประเด็นในวันนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเด็นหลักๆ ด้วยกัน
ประเด็นแรก เมื่อเกิดเหตุการณ์เหมือนเช่นในรูปนั่นก็คือ ดินนั้นเกิดการทรุดตัวลงไปมากจนทำให้เสาเข็มที่อยู่ใต้ฐานรากนั้นลอยโผล่ขึ้นมาจนลอยตัวอยู่ระดับเหนือดินที่ทรุดตัวลงไป จนในที่สุดก็จะไม่มีดินที่จะคอยทำหน้าที่ในการประคองพื้นที่รอบๆ ทางด้านข้างของตัวโครงสร้างเสาเข็มอีกต่อไป พูดอีกนัยหนึ่งก็คือเท่ากับว่า LATERAL STABILITY ของโครงสร้างเสาเข็มในช่วงด้านบนที่ไม่มีดินอยู่นี้ก็จะหมดไปในทันทีเลย อีกทั้งนี่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้งานของโครงสร้างไปโดยสิ้นเชิงทั้งๆ ที่เราไม่ได้มีเจตนาที่จะทำเช่นนั้นเลยเพราะจากที่เดิมที่โครงสร้างเสาเข็มนั้นทำหน้าที่เป็นเพียง เสา หรือ COLUMN ที่จะทำหน้าที่รับเฉพาะ แรงกระทำตามแนวแกน หรือ AXIAL FORCE ที่ได้รับการค้ำยันแบบเต็มที่หรือ FULLY LATERAL BRACED ด้วยดินที่อยู่รอบๆ ตัวโครงสร้างเสาเข็มเอง โดยที่โครงสร้างเสาเข็มอาจจะต้องกลายสภาพตัวเองไปเป็น เสา ที่ไม่ได้รับการค้ำยันอย่างเต็มที่หรือ PARTIALLY LATERAL BRACED เพราะว่าดินที่อยู่ทางด้านบนของโครงสร้างนั้นถูกทำให้หายไป หรือกรณีที่แย่ที่สุดก็คือโครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นมีโอกาสที่จะกลายสภาพเป็น BEAM-COLUMN ที่จะทำหน้าที่รับทั้ง แรงกระทำตามแนวแกน และ โมเมนต์ดัด หรือ BENDING MOMENT FORCE ไปพร้อมๆ กันได้เลยทีเดียวนะครับ
เมื่อเป็นเช่นนี้โครงสร้างเสาเข็มของเราก็จะต้องทำหน้าที่เสมือนเป็นตอม่อของโครงสร้างไปในตัวด้วย สำหรับกรณีนี้หากว่าน้ำหนักที่กระทำบนโครงสร้างเสาเข็มนั้นไม่ได้มากมายจนเกินกำลังค่าความสามารถที่โครงสร้างเสาเข็มนั้นจะรับได้ก็ต้องถือว่ายังไม่อันตรายเท่าใดนัก ในทางตรงกันข้ามหากว่าน้ำหนักที่กระทำบนโครงสร้างเสาเข็มนั้นมากจนเกินกำลังค่าความสามารถที่โครงสร้างเสาเข็มนั้นจะรับได้ก็ต้องถือว่ามีอันตรายมากๆ ซึ่งก็เป็นประเด็นที่เราควรที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษด้วยนะครับ
ประเด็นที่สอง ขนาดระยะความลึกของเสาเข็มที่ผู้ออกแบบนั้นควรที่จะกำหนดให้ใช้ในการออกแบบเสาเข็มนั้นควรที่จะต้องมีความสอดคล้องกันกับการทำงานก่อสร้างด้วยนะครับ
เพื่อนๆ คงจะไม่ได้งงกับประเด็นๆ นี้ของผมใช่หรือไม่ครับ ?
เอาเป็นว่าผมจะขออนุญาตทำการยกตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้ก็แล้วกันเพื่อนๆ จะได้นึกภาพตามกันออก
สมมติว่าผลจากการทดสอบดินระบุเอาไว้ว่า เสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มที่มีกลไกการรับแรงเป็นแบบเสาเข็มแรงฝืด หรือ FRICTION PILE โดยที่กำหนดว่า เสาเข็มจะต้องมีความลึกตั้งแต่ระดับของดินเดิมลงไปไม่น้อยกว่า 18 เมตร ถึงจะมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ตามเกณฑ์ที่เราต้องการ
จากข้อมูลข้างต้นประเด็นของคำถามก็คือ หากเพื่อนๆ เป็นผู้ออกแบบในโครงการๆ นี้ซึ่งอาจพบเจอกับกรณีเช่นปัญหาในวันนี้ของเรานี้ เพื่อนๆ คิดว่าเราควรที่จะใช้ความยาวของเสาเข็มเท่ากับ 18 เมตร หรือ ไม่ครับ ?
หวังว่าจะตามกันทันเพราะสิ่งที่ผมต้องการจะหยิบยกเอามาพูดกับเพื่อนๆ ก็คือ สำหรับกรณีที่เสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มที่มีกลไกการรับแรงเป็นแบบเสาเข็มแรงฝืดและสภาพของดินในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นเป็นดินถมหรือเป็นดินเดิมแต่เมื่อวันเวลาได้ผ่านพ้นไป น้ำ หรือ ลม ก็จะทำให้ดินนั้นๆ ของเราก็มีโอกาสที่จะถูกกัดเซาะหายไปได้ในที่สุด หากเป็นเช่นนี้เราก็ไม่ควรที่จะเชื่อถือผลที่ได้อ่านได้จากผลการสำรวจดินนะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ เป็นผู้ออกแบบในโครงการหนึ่งๆ ผมอยากที่จะเน้นตรงนี้กับเพื่อนๆ ว่า เพื่อนๆ ควรที่จะต้องลงไปทำการสำรวจพื้นที่หน้างานด้วยตัวเองอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยหากว่าสามารถที่จะเลือกได้ ก็ควรที่จะทำการศึกษาหาข้อมูลพื้นฐานในเบื้องต้นไว้เสียก่อนว่า จะสามารถมองเห็นสภาพของพื้นที่หน้างานซึ่งอยู่ในสภาวะที่มีความรุนแรงจนถึงขีดสุดได้เมื่อใด ซึ่งในสภาพวะดังกล่าวก็จะมีความเหมาะสมที่สุดที่จะเดินทางไปดูนะครับ
ที่ผมกล่าวเช่นนี้เพราะมีในหลายๆ ครั้งที่ผมซึ่งอยู่ในฐานะของผู้ออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างและมีโอกาสที่ได้ประสบพบเจอเข้ากับเหตุการณ์ในทำนองเช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง เช่น ผมเคยได้รับการติดต่อว่าจ้างจากลูกค้าหลายๆ ท่านให้ทำงานอออกแบบให้แก่โครงการก่อสร้างของเค้า ซึ่งพอได้รับการติดต่อมาผมก็ได้แจ้งกลับไปว่า ผมจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งผลที่ได้รับกลับมาก็คือ ลูกค้าเหล่านั้นมักจะมีคำถามมาที่ผมเป็นประจำเลยว่า ผมจะเดินทางมาทำไมกัน ผู้ออกแบบท่านอื่นๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่เห็นมีใครแจ้งว่าจำเป็นที่จะต้องเดินทางมาดูสถานที่ก่อสร้างเลย เห็นเค้าก็สามารถที่จะทำการออกแบบกันได้นี่นา เป็นต้นนะครับ
ที่ผมมักจะทำเช่นนี้ก็เพราะผมมองว่า ไม่มีใครที่จะสามารถสังเกตและเก็บข้อมูลแวดล้อมเหล่านี้ได้ดีและครบถ้วนเท่ากับตัวของเราแล้วละครับ
หากว่าผมจะต้องทำงานออกแบบในโครงการใดๆ และผมเลือกที่จะไม่เดินทางไปเก็บข้อมูลแวดล้อมเหล่านี้ด้วยตัวเองแล้ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง หากว่าสภาพแวดล้อมในสถานที่ก่อสร้างนั้นๆ ไม่ได้มีปัญหาเหมือนกับที่ผมได้นำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ทราบจริงๆ ก็ต้องถือว่าเป็นความโชคดีของผมแต่หากว่าที่หน้างานนั้นมีปัญหานี้เกิดขึ้นจริงๆ ก็เท่ากับว่ามันก็ถึงคราวที่ผมจะต้องทนทุกข์จากเหตุดังกล่าวและก็ต้องรับสภาพไปเพียงเพราะผมประมาทหรือเลินเล่อในการทำงานออกแบบมากจนเกินไป ถูกต้องหรือไม่ครับ ?
ผมขอสรุปทั้ง 2 ประเด็นข้างต้นให้ดังนี้ก็แล้วกันนะครับ หากว่าเรามีโอกาสที่จะได้เดินทางไปเก็บข้อมูลดังกล่าวที่หน้างานและพบว่าในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นมีโอกาสที่จะประสบพบเจอกับปัญหาเช่นกรณีของเราจริงๆ เราก็ควรที่จะต้องสามารถทำการ “เผื่อ” หรือ ทางที่ดีที่สุดคือทำการ “คำนวณ” เพื่อที่จะทำการประมาณ ค่าความแข็งแรงของโครงสร้างเสาเข็มที่มีความเหมาะสม และ ค่าระดับของความลึกชั้นดิน ซึ่งมีโอกาสที่จะถูก น้ำ หรือ ลม นั้นพัดพาหายไปตามกาลเวลาออกมาให้ได้ โดยทางที่ดีก็ควรที่จะให้การคำนวณของเรานั้นมีความแม่นยำในระดับหนึ่งด้วย มิเช่นนั้นก็จะมีความเสี่ยงมากๆ ที่เสาเข็มของเรานั้นจะมีความสามารถในการรับแรงตามแนวแกนที่ลดน้อยลงเมื่อระยะเวลาได้ผ่านพ้นไปภายหลังที่การก่อสร้างได้แล้วเสร็จลงไปแล้วน่ะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาของการที่ดินเกิดการกัดเซาะหายไปในการทำงานก่อสร้างเสาเข็มที่มีกลไกการรับแรงเป็นแบบเสาเข็มแรงฝืด
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com