สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่ผมจะมายกตัวอย่างถึงปัญหางานวิศวกรรมโครงสร้างที่พบได้จริงๆ ในชีวิตประจำวันของเราๆ ซึ่งในวันนี้ผมจะหยิบยกเอากรณีของปัญหาการใช้งานฐานรากที่มีการก่อสร้างโดยใช้ เสาเข็มเพียงต้นเดียว หรือ SINGLE PILE นั่นเองนะครับ
สืบเนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้ผมมีโอกาสได้พาครอบครัวไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่ง ซึ่งพอวิ่งไปรอบๆ บึงซึ่งมีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ได้มีการขุดเอาไว้ผมก็ไปพบกับอาคารชั้นเดียวอาคารหนึ่งซึ่งสร้างเอาไว้ค่อนข้างสูงจากระดับดิน ซึ่งก็น่าจะเกิดจากการออกแบบของสถาปนิกที่มีความต้องการที่จะให้ระดับใช้งานของอาคารหลังนี้อยู่เหนือระดับน้ำที่อาจจะมีระดับที่สูงมากๆ หากว่าในบริเวณบึงของสวนสาธารณะแห่งนี้จะต้องทำหน้าที่เป็นแก้มลิงเพื่อเก็บกักปริมาณน้ำขนาดมหาศาล ประเด็นจึงอยู่ที่เราจะสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าเลยว่า ฐานรากของอาคารหลังนี้ลอยตัวอยู่เหนือระดับดินโดยสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเลยละครับ
(รูปที่1)
จะเห็นได้จากรูปที่ 1 ว่า อาคารหลังนี้จะมีเสาอยู่ทั้งหมด 4 ต้น โดยที่การก่อสร้างฐานรากนั้นไม่ได้ทำการก่อสร้างโดยใช้คานคอดินทำหน้าที่รัดหัวเสาเอาไว้ด้วย โดยเพื่อนๆ จะพบเห็นได้ว่าจะมีเสาอยู่ 1 ต้น ซึ่งจะเป็นเสาต้นมุมตามที่ผมได้ทำการเสก็ตช์รูปเป็นเส้นประให้เพื่อนๆ ได้ดูว่า เสาเข็มเดี่ยว ที่จะทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของเสา คสล ต้นนี้ ก็คือประเด็นที่เราจะนำมาพูดคุยและเสวนากันในวันนี้ครับ
(รูปที่2)
รูปที่ 2 หากขยับเข้าไปดูให้ใกล้ขึ้นอีกสักนิดและก็ทำการตั้งค่าแกนเพื่อที่จะใช้อ้างอิงพิกัดของโครงสร้างเสา คสล และเสาเข็ม เราก็จะสามารถตั้งเป็นแกนที่อยู่ในแนวราบได้ 2 แกนนั่นก็คือแกน X และแกน Z โดยที่จะมีแกนที่อยู่ในแนวดิ่งอยู่ 1 แกนนั่นก็คือแกน Y นะครับ
(รูปที่3)
รูปที่ 3 ผมจะเริ่มต้นที่พิกัดตามแกน X ก่อน ซึ่งเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเลยนะครับว่า โครงสร้างเสา คสล และเสาเข็มต้นนี้จะมีแนวของศูนย์กลางของโครงสร้างทั้งสองในแกนๆ นี้ที่ไม่ตรงกัน ดังนั้นผมก็จะให้ระยะเยื้องศูนย์นี้ว่า ระยะเยื้องศูนย์ตามแกน X นะครับ
(รูปที่4)
รูปที่ 4 ผมจะมาดูที่พิกัดตามแกน Z บ้าง ซึ่งเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าอีกเช่นกันนะครับว่า โครงสร้างเสา คสล และเสาเข็มต้นนี้จะมีแนวของศูนย์กลางของโครงสร้างทั้งสองในแกนๆ นี้ที่ไม่ตรงกันอีกเช่นกัน ดังนั้นผมก็จะให้ระยะเยื้องศูนย์นี้ว่า ระยะเยื้องศูนย์ตามแกน Z ก็แล้วกันนะครับ
เมื่อเพื่อนๆ ได้เห็นรูปทั้ง 4 ข้างต้นนี้แล้วเพื่อนๆ ทำการตั้งข้อสังเกตกันอย่างไรบ้างครับ ?
ใช่แล้วครับ ในเมื่อเกิด ระยะเยื้องศูนย์ ขึ้นในโครงสร้างนั่นก็แสดงว่า เสาเข็ม ในอาคารๆ นี้นอกจากจะต้องรับแรงกระทำตามแนวแกน หรือ AXIAL FORCE แล้วก็ยังจะต้องรับโมเมนต์ดัด หรือ BENDING MOMENT ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเกิด ระยะเยื้องศูนย์ ในทั้งสองทิศทางนี้ด้วยครับ
หากสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่า เสเข็มต้นนี้คงไม่ใช่เสาเข็มเจาะอย่างแน่นอน ดังนั้นตอนที่ทำการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง ทั้งวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงานได้ทำการคำนึงถึงสภาวะการเยื้องศูนย์ที่เกดขึ้นนี้หรือไม่ อันนี้ผมไม่อาจจะรับรู้และไม่อาจจะก้าวล่วงถึงได้ครับ เพียงแต่ผมอยากจะให้เป็นความรู้แก่เพื่อนๆ ทุกคนว่าสาเหตุที่อาคารหลังนี้ยังคงตั้งอยู่ได้โดยที่ไม่เกิดการวิบัติก็ อาจจะ เกิดจากหลายสาเหตุครับ เช่น ตอนที่ทำการออกแบบและก่อสร้างวิศวกรได้มีการคำนึงถึงระยะเยื้องศูนย์ที่เกิดขึ้นแล้วและพบว่าไม่มีผลใดๆ ต่อโครงสร้าง ทั้งโครงสร้างเสาตอม่อและเสาข็มสามารถที่จะรับโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมได้ หรือ น้ำหนักบรรทุกจริงๆ ที่เสาเข็มต้นนี้จะต้องทำหน้าที่รับมีค่าน้อยกว่าค่ากำลังจริงๆ ที่เสาเข็มต้นนี้จะสามารถรับได้จึงทำให้โครงสร้างๆ นี้ยังคงตั้งอยู่ได้ เป็นต้นครับ
สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะฝากเพื่อนๆ เอาไว้สำหรับกรณีๆ นี้ก็คือ เพื่อเป็นการการันตีและสร้างความมั่นใจว่า โครงสร้างของเรานั้นจะมีเสถียรภาพที่ดีเพียงพอสำหรับกรณีที่เราทำการก่อสร้างโครงสร้างฐานรากที่ใช้เป็นเสาเข็มเดี่ยวที่ไม่มีความสามารถในการที่จะรับโมเมนต์ดัดได้ ผมขอให้คำแนะนำไว้ง่ายๆ ว่าควรทำการก่อสร้างโดยใช้ระบบคานคอดินจะดีที่สุดเพราะเหมือนที่ผมเคยอธิบายไปก่อนหน้านี้หลายครั้งแล้วว่า โครงสร้างคานคอดินจะเป็นตัวช่วยในหลายๆ เรื่องของกรณีที่โครงสร้างเสาเข็มเดี่ยวของเราเกิดการเยื้องศูนย์ออกไป ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและเสถียรภาพให้แก่โครงสร้างของเราเป็นอย่างมากอีกด้วยครับ
ในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมยังคงจะขออนุญาตพูดโดยที่ยังใช้รูปเหล่านี้อยู่นะครับเพียงแต่ผมจะขอพูดถึงประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมบ้าง ส่วนจะเป็นกรณีใดนั้น ผมก็อยากจะขอให้เพื่อนๆ ทุกคนได้ติดตามอ่านบทความของผมได้ในสัปดาห์หน้านะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาของการก่อสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มเพียงหนึ่งต้นครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com