วิธีในการคำนวณหาเหล็กเสริมในแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นทางเดียว และ แผ่นพื้นสองทาง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่อง วิธีในการคำนวณหาเหล็กเสริมในแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นทางเดียว และ แผ่นพื้นสองทาง ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบกันนะครับ

 

โดยมากแล้วเหล็กเสริมในแผ่นพื้นมักจะถูกกำหนดในแบบวิศวกรรมโครงสร้างให้เป็น เหล็กตะแกรง และมีจำนวนอย่างน้อยเท่ากับ 1 ชั้น ที่บริเวณผิวด้านล่างของแผ่นพื้น หรือ สำหรับกรณีอื่นๆ ทั่วๆ ไปก็อาจจะ 2 ชั้น นั่นก็คือที่ผิวด้านบนและด้านล่างของแผ่นพื้น และก็จะทำการกำหนดในแบบให้ทราบในแบบวิศวกรรมโครงสร้างว่า ขนาดของเหล็กเสริม และ ระยะห่างของการวางตัวของเหล็กเสริมในแต่ละชั้นนั้นจะเท่ากับเท่าใด หรือ อาจจะมีรายละเอียดพิเศษอื่นๆ เป็นอย่างไรด้วย ทั้งนี้หากเราจะพูดถึง ปริมาณของเหล็กเสริม ที่จำเป็นจะต้องมีอยู่ในแผ่นพื้น เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า เหล็กเสริมเหล่านี้ที่จะต้องมีการพิจารณาโดยผ่านการคำนึงถึงเรื่องหลักๆ 2 เรื่องด้วยกัน ได้แก่

 

(1.) เหล็กเสริมต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

 

คอนกรีตจะเริ่มต้นเกิดการหดตัวเมื่อคอนกรีตเริ่มที่จะเกิดการเซ็ตตัว ซึ่งก็จะส่งผลทำให้เกิดหน่วยแรงดึงอันเนื่องมาจากการหดตัว หรือ SHRINKAGE STRESS นอกจากนั้นสำหรับโครงสร้างคอนกรีตที่ตั้งอยู่กลางแจ้งก็จะมีปัญหาในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่มีผลแตกต่างกันค่อนข้างมาก ก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบได้ในลักษณะเดียวกัน ทำให้วัสดุคอนกรีตซึ่งมีข้อด้อยในเรื่องของความอ่อนแอทางด้านกำลังรับแรงดึงอยู่แล้ว เมื่อเกิดหน่วยแรงจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและการหดตัวเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการแตกร้าวขึ้นได้ ซึ่งเราสามารถที่จะป้องกันได้โดยการเสริมเหล็กต้านทานการแตกร้าวนั่นเองครับ

 

(2.) เหล็กเสริมต้านทานต่อแรงดัดที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้น

 

โครงสร้างพื้นจะเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะการรับกำลังแบบ LOW SHEAR และ LOW MOMENT แต่เมื่อพื้นต้องรับน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งถึงระดับๆ หนึ่ง พื้นก็ยังจะเกิดแรงดัดขึ้นอยู่ดี ดังนั้นเราก็ยังจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อที่จะหาค่าแรงดัดที่เกิดขึ้นให้ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ทราบว่าปริมาณของเหล็กเสริมที่แผ่นพื้นนั้นๆ ต้องการเมื่อต้องรับแรงดัดจะมีปริมาณเท่ากับเท่าใด โดยที่เราต้องทำการเปรียบเทียบปริมาณดังกล่าวกับเหล็กเสริมในข้อที่ (1.) ว่าปริมาณเหล็กเสริมใดเป็นตัวควบคุมการออกแบบ

 

(3.) เหล็กเสริมต้านทานต่อแรงเฉือนที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้น

 

โดยมากแล้วสำหรับกรณีของการออกแบบโครงสร้าง แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคาน นั้นผู้ออกแบบมักที่จะไม่ได้มีการตรวจสอบหรือออกแบบค่าแรงเฉือนเท่าใดนัก เพราะค่าแรงเฉือนที่เกิดขึ้นซึ่งจะเรียกได้ว่าเป็น แรงเฉือนแบบคาน หรือ BEAM SHEAR ซึ่งทั้งในแผ่นพื้น ทางเดียว และ สองทาง จะมีค่ากำลังระบุของแรงเฉือน หรือ NOMINAL SHEAR STRENGTH ที่ค่อนข้างจะสูงมากกว่าค่าแรงเฉือนที่กระทำที่หน้าตัดวิกฤติอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ดีสำหรับกรณีที่น้ำหนักบรรทุกนั้นไม่ใช่กรณีปกติ กล่าวคือ พื้นอาจจะไม่ได้รับน้ำหนักแบบปกติ เช่น มีการรับน้ำหนักแบบจุด หรือว่า CONCENTRATED LOAD หรือมีการรับน้ำหนักชนิดใดก็ตามแต่ในปริมาณมากๆ และอาจจะไม่ได้สมมาตรกับสัดส่วนองค์อาคารของแผ่นพื้นด้วย เป็นต้น หากเป็นเช่นตามกรณีที่ผมได้ยกตัวอย่างไปนี้ เหล็กเสริมชนิดนี้ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณาและออกแบบอยู่ดี โดยที่เราอาจที่จะต้องทำการพิจารณาทั้ง 2 กรณีของแรงเฉือนสำหรับแผ่นพื้นของเราว่ามีความวิกฤติต่อแรงเฉือนประเภทใดบ้าง นั่นก็คือ แรงเฉือนแบบคาน และ แรงเฉือนแบบเจาะทะลุ หรือ PUNCHING SHEAR ด้วยน่ะครับ

 

ในครั้งต่อไปผมจะขออนุญาตมาพูดถึงเจาะจงลงไปในกรณีที่ (1.) นั้นก็คือเรื่อง เหล็กเสริมต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบกันนะครับ หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามรับชมบทความนี้ของผมได้ในสัปดาห์หน้าครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน

#ความรู้เรื่องเหล็กเสริมในโครงสร้างแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานครั้งที่หนึ่ง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com