ข้อกำหนด การเสริมกำลังโครงสร้างแผ่นพื้นท้องเรียบ ให้สามารถมีค่าความต้านทานต่อการรับแรงเฉือนแบบเจาะทะลุที่เพิ่มสูงขึ้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

ก่อนที่ในวันพรุ่งนี้และช่วงสุดสัปดาห์เพื่อนๆ จะได้ไปพักผ่อนกันในช่วงวันหยุดปีใหม่ ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่องที่มาที่ไปของข้อกำหนดในการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างที่มีการกล่าวถึงไว้ใน DESIGN CODE อย่าง ACI 352.1R-12 ที่ได้กล่าวถึงเรื่องข้อกำหนดสำหรับการเสริมกำลังแก่โครงสร้างแผ่นพื้นท้องเรียบให้สามารถที่จะมีค่าความต้านทานต่อการรับแรงเฉือนแบบเจาะทะลุที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับกรณีที่โครงสร้างนั้นมีความวิกฤติต่อประเภทของ นน บรรทุกในแนวราบอย่างแรงกระทำจากแผ่นดินไหวให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ

 

โดยหากเพื่อนๆ ทำการเปิดดู DESIGN CODE อย่าง ACI 352.1R-12 เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าใน DESIGN CODE จะมีแผนภูมิดังที่แสดงอยู่ในรูปๆ นี้ปรากฏอยู่ ซึ่งแผนภูมิๆ นี้เองคือที่มาที่ไปว่า เพราะเหตุใดใน DESIGN CODE จึงได้ทำการกำหนดเอาไว้ว่า เพราะเหตุใดเราจึงจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบว่าค่า GRAVITY SHEAR RATIO หรือ GSR สำหรับแผ่นพื้นที่ไม่ได้มีการเสริมกำลังใดๆ เป็นพิเศษจะต้องมีค่า GSR ที่น้อยกว่า 0.40 มิเช่นนั้นจำเป็นที่จะต้องพิจารณาระบบหรือวิธีในการเสริมกำลังแก่โครงสร้าง

 

แผนภูมิๆ นี้ได้มาจากการทำงานวิจัยและทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการโครงสร้างของนักวิจัยหลายๆ ท่านในอดีตที่ถือได้ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงพอซึ่งได้รับการรวบรวมเอาไว้โดย ACI นั่นเองนะครับ โดยที่เส้นภายในแผนภูมี่ผมจะให้เพื่อนๆ สังเกตเป็นพิเศษก็คือแผนภูมิเส้นที่ 1 หรือ CURVE 1 ซึ่งเส้นๆ นี้จะเป็นเส้นที่บ่งบอกค่าแนวโน้มสำหรับ ตย ของแผ่นพื้นท้องเรียบที่ได้รับการทดสอบในกรณีที่แผ่นพื้นนั้นไม่ได้มีการเสริมกำลังใดๆ แก่ตัวโครงสร้างพื้นเลย โดยที่แผ่นพื้นต่างๆ เหล่านี้ก็จะมีค่า GSR ที่มีค่าแตกต่างกันออกไป

 

จากผลการทดสอบได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อทำการทดสอบโดยให้ ตย ขององค์อาคารที่มีค่าระดับของ GSR ที่แตกต่างกันนี้มีการรับแรงกระทำทางด้านข้าง เราจะพบได้ว่าแผ่นพื้นท้องเรียบนั้นก็จะแสดงผลตอบสนอง (RESPONSE) ออกมาเป็นค่าระดับสมรรถนะ (PERFORMANCE LEVEL) ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของค่า สัดส่วนการเคลื่อนที่ทางด้านข้างที่แผ่นพื้นอยู่ในสภาวะประลัย หรือ DRu (ULTIMATE LATERAL DRIFT RATIO) ที่ระดับซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปด้วย

 

เริ่มต้นดูสี่เหลี่ยมที่ไฮไลต์ด้วยสีฟ้าก่อนนะครับ กลุ่ม ตย ของพื้นท้องเรียบเหล่านี้จะมีค่า GSR ที่น้อยกว่า 0.40 ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าระดับของค่า DRu นั้นจะมีค่าที่แตกต่างกันออกไปเริ่มตั้งแต่ 0.015 หรือ ร้อยละ 1.50 หรือ 1.50% ไปจนถึง0.04 หรือ ร้อยละ 4 หรือ 4% เลยนะครับ

 

ต่อมาให้ดูสี่เหลี่ยมที่ไฮไลต์ด้วยสีแดงกันบ้างนะครับ กลุ่ม ตย ของพื้นท้องเรียบเหล่านี้จะมีค่า GSR ที่มากกว่า 0.40 โดยเราจะสามารถสังเกตเห็นและพบได้ว่าค่า DRu นั้นจะมีการกระจายตัวอยุ่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำมากๆ กล่าวคือค่า DRu จะมีค่าน้อยกว่า 0.015 หรือ ร้อยละ 1.5 หรือ 1.5%

 

ซึ่งตรงจุดนี้เองที่จะมีความสอดคล้องกันกับงานวิจัยอื่นๆ ที่ DESIGN CODE ได้อ้างอิงถึงว่า อาคารที่ได้ทำการก่อสร้างโดยอาศัยระบบแผ่นพื้นท้องเรียบซึ่งมีความเสี่ยงภัยต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหวนั้น ควรที่จะมีความสามารถในการเคลื่อนที่ทางด้านข้างประลัยต่ำที่สุด หรือ MINIMUM ULTIMATE DRIFT RATIO CAPACITY ไม่น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 0.015 หรือ ร้อยละ 1.5 หรือ 1.5%

 

ด้วยประการฉะนี้เอง เวลาที่วิศวกรโครงสร้างจะต้องทำการออกแบบอาคารใดๆ ที่มีความเสี่ยงภัยต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหว จำเป็นที่จะต้องทำการออกแบบและตรวจสอบว่าแผ่นพื้นท้องเรียบของเรานั้นมีค่า GSR เป็นเท่าใด จำเป็นที่จะต้องมีการเสริมกำลังให้แก่แผ่นพื้นด้วยหรือไม่ อย่างไร นั่นเองนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com