เรียน วิชาแคลคูลัส ไปเพื่ออะไร ?

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ งานวิศวกรรมโครงสร้างทั่วไป (MISCELLANEOUS STRUCTURAL ENGINEERING หรือ MSE) นะครับ

เมื่อเร็วๆ นี้ผมบังเอิญเดินผ่านไปได้ยินน้องๆ ที่เรียนในสาขาวิศวกรรมโยธาที่บางมดเค้านั่งคุยกันที่ใต้ตึก CB5 ว่าด้วยเรื่อง วิชาแคลคูลัส ว่าเรียนไปเพื่ออะไร ? ใครเรียนแล้วได้นำไปใช้ในชีวิตจริงๆ บ้าง ?

จริงๆ แล้วประโยชน์ของวิชาแคลคูลัสนี้มีมากมายมหาศาลจริงๆ นะครับ นับตั้งแต่ผมเรียน ป ตรี จนถึงระดับ ป เอก ก็ยังได้นำวิชาแคลคูลัสมาใช้อยู่ไม่เคยขาด โดยเฉพาะวิชาในสายวิศวกรรมพลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL DYNAMICS ENGINEERING) หรือ วิชาในสายวิศวกรรมกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL ENGINEERING MEACHANICS) ก็ตาม แต่ ผมก็เข้าใจนะครับ ว่าอยู่ดีๆ หากให้ใครมานั่งนึกถึง และ ให้มานั่งบอกประโยชน์เป็นข้อๆ ก็คงไม่มีใครเค้าทำกัน จึงทำให้ผมหวนนึกถึงโพสต์ๆ หนึ่งที่ท่านอาจารย์ที่ผมรักและเคารพในตัวท่านมาก ซึ่งท่านเคยได้เคยกรุณาโพสต์เอาไว้ในเพจส่วนตัวของท่านสักพักหนึ่งแล้ว และ ผมก็ติดตามท่านอยู่ จึงมีโอกาสได้ไปอ่านพอดีซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง การนำวิชาแคลคูลัสไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน วันนี้ผมจึงจะขออนุญาตท่านอาจารย์นำมาแชร์และบอกต่อกับเพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ

ปัญหานี้มีอยู่ว่า มีชายคนหนึ่งได้รับมรดกจากญาติผู้ใหญ่เป็นที่ดินจำนวน 1 แปลง โดยญาติคนนี้เห็นว่าชายคนนี้เป็นคนที่มีความเฉลียวฉลาดจึงทำการกำหนดให้มีข้อแม้เพียง 1 ข้อว่าปริมาณพื้นที่ของที่ดินที่ชายคนนี้จะได้ไปนั้น จะมีขนาดเป็นเท่าใดก็ได้ ขอเพียงแต่ต้องนำเชือกที่มีความยาวทั้งหมด 800 ม ไปทำการทาบตามความยาวของเส้นรอบรูปของที่ดิน ยกเว้น ด้านที่อยู่ติดกันกับ แม่น้ำ ให้ได้เป็นรูปทรงที่ดินที่เป็นสี่เหลี่ยม โดยจะเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ก็ได้นะครับ

ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่ชายคนนี้เองก็ต้องการที่จะได้พื้นที่ของที่ดินที่ มากที่สุด เป็นเรื่องธรรมดานะครับ ดังนั้นวันนี้เราจะนำ วิชาแคลคูลัส มาช่วยชายคนนี้ในการหาพื้นที่ของที่ดินมากที่สุดตามเงื่อนไขที่ชายคนนี้ได้รับมาจากญาติผู้ใหญ่ของเค้ากันนะครับ

จากเงื่อนไขข้างต้นทำให้ทราบว่า ด้านทั้งหมดที่สามารถทำการทาบเชือกได้จะมีทั้งสิ้น 3 ด้าน ด้วยกัน นั่นก็คือ ระยะที่ตั้งฉากกับแม่น้ำจำนวน 2 ด้าน ซึ่งเราจะให้เท่ากับระยะ X และ ระยะที่ขนานกับแม่น้ำจำนวน 1 ด้าน ซึ่งเราก็จะให้เป็นระยะความยาวทั้งหมดของเชือก ลบ ด้วยระยะ 2X หรือ เขียนได้เท่ากับ 800-2X นะครับ

ดังนั้นเราจะสามารถหาพื้นที่ของที่ดินออกมาได้เท่ากับ

A(X) = (X)(800 – 2X) = 800X – 2X^(2)

จะเห็นได้ว่าสมการในการหาพื้นที่แปลงนี้จะอยู่ในรูปที่ขึ้นกับฟังก์ชั่นของ X โดยหากเราจะหาค่าสูงสุดของของค่าๆ นี้เราเพียงแค่ทำการ DIFFERENTIATE สมการๆ นี้โดยให้ผลของสมการนี้มีค่าเท่ากับ ศูนย์ เพราะ จากหลักการตามทฤษฎีของแคลคูลัสนั้นสอนให้เราทราบว่าการ DIFFERENTIATE ก็คือ การหาค่าความชัน (SLOPE) ของสมการ ซึ่งที่ตำแหน่งยอดสุด หรือ ตำแหน่งที่มีค่าสูงที่สุด ค่าของความชันนั้นจะมีค่าเท่ากับ ศูนย์ นั่นเองนะครับ ดังนั้นจะสามารถเขียนได้ว่า

dA(X)/dX = d[800X – 2X^(2)]/dX = 0
800 – 4X = 0
4X = 800
X = 200 M

ดังนั้นขนาดของพื้นที่สูงสุดที่ชายคนนี้จะได้โดยการวัดตามเงื่อนไขข้างต้นจึงมีค่าเท่ากับ

A (MAX.) = 800(200) – 2(200)^(2)
A (MAX.) = 80000 SQ.M

หรือ หากเอาเป็น หน่วย ที่พวกเราคุยกเคยกันดีก็จะมีค่าเท่ากับ

A (MAX.) = 80000/1600
A (MAX.) = 50 ไร่

เป็นยังไงบ้างครับเพื่อนๆ หากว่าไม่มีวิชาแคลคูลัส ชายคนนี้ก็อาจที่จะต้องใช้วิธีการลองผิดลองถูก (TRIAL & ERROR) หลายครั้งมากๆ เลยนะครับกว่าที่จะได้คำตอบเหมือนเช่นที่ผมคำนวณให้เพื่อนๆ ดูข้างต้น หรือ ไม่ก็อย่างแย่ที่สุดก็คือ ชายคนนี้ก็อาจจะไม่ได้รับที่ดินซึ่งเป็นมรดกที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดแบบนี้ ซึ่งก็จะถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆ เลยนะครับ

ดังนั้นผมจึงอยากจะขอให้กำลังใจน้องๆ ที่ในขณะนี้กำลังเรียนอยู่ไม่ว่าจะสาขาใดก็ตามนะครับว่า วิชาแคลคูลัสนั้นมีประโยชน์มากจริงๆ นะครับ ขอให้พวกน้องๆ ตั้งใจ และ ขยันหมั่นเพียรให้มากๆ ผมเชื่อว่าสักวันหนึ่งเราจะได้นำวิชาแคลคูลัสนี้ไปใช้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างแน่นอนนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com