สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของรุ่นพี่วิศวกรท่านหนึ่งที่เคยถามผมมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเรื่อง ระบบวิศวกรรมโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง (PRESTRESSED CONCRETE SYSTEM) นั่นเองนะครับ โดยคำถามมีอยู่ว่า “ระบบพื้น POST-TENSIONED ที่มักจะทำการออกแรงดึงลวดที่ 75% ของค่าแรงดึงสูงสุดนั้น เพราะเหตุใดจึงต้องทำการออกแรงดึงที่ค่าๆ นี้ และ จะดึงด้วยค่าอื่นที่อาจต่ำ หรือ สูงกว่าค่าๆ นี้ได้หรือไม่ ?”
เหมือนเช่นเคยนะครับ ผมขอชมเชยรุ่นพี่ท่านนี้ของผมก่อน เพราะ ไม่ว่าคำถามข้อนี้จะคิดขึ้นมาด้วยเหตุผลกลใด ผมก็ถือว่าให้คะแนนเต็มร้อยสำหรับการคิดคำถามนี้ครับ
คำตอบ คือ ได้ครับ แต่ ต้องมีประโยคที่เป็นข้อแม้ต่อท้ายด้วยนะครับ คือ จะทำให้เกิดผลเสียตามมาพฤติกรรมของตัวโครงสร้างนั่นเองครับ นั่นก็คือ พฤติกรรมการคลายแรงดึงของลวด นั่นเอง พฤติกรรมนี้คืออะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันด้วยกันนะครับ
การคลายแรงดึง หรือ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า RELAXATION คือ พฤติกรรมที่เหล็กหรือลวดอัดแรงนั้นเกิดการสูญเสียแรงไปโดยที่ความยาวของเหล็กยังคงเท่าเดิม ซึ่งพฤติกรรมนี้มีพื้นฐานคล้ายกันกับการคืบ หรือ CREEP ในวัสดุคอนกรีต ซึ่งมีนิยามเป็นการเปลี่ยนแปลงความยาวของวัสดุภายใต้สภาวะหน่วยแรงนั้นมีค่าคงที่ โดยที่ปรากฎการณ์ RELAXATION นี้ถือเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว (LONG TERM) แต่จะต่อเนื่องต่อไปไม่มีสิ้นสุดถึงแม้ว่าอัตราการเกิดจะมีค่าค่อยๆ ลดน้อยลงก็ตามนะครับ
ปริมาณของการเกิด RELAXATION นั้นจะแปรเปลี่ยนไปตาม ประเภท และ เกรด ของเหล็ก แต่ ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่สุด คือ เวลา และ ค่าความเข้มข้นของหน่วยแรงเริ่มแรก นั่นเองครับ
การคลายแรงดึงของลวดเหล็กจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มแรก และ อัตรานี้จะเกิดน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไป เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้เราจึงนิยมแสดงระยะเวลาด้วยกราฟ LOG SCALE จะเป็นการช่วยทำให้มองเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นนะครับ
ดูรูปประกอบได้นะครับ โดยที่ในรูปๆ นี้เป็นแผนภูมิเส้นแสดงการเกิด RELAXATION เมื่อเทียบกับระยะเวลาของตัวอย่างลวดตีเกลียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 12.7 มม ชนิดมีค่ากำลังประลัยเท่ากับ 19,000 KSC นะครับ
โดยอย่างที่ผมบอกไปนะครับว่า RELAXATION นี้จะเกิดขึ้นอยู่กับ ค่าความเข้มข้นของหน่วยแรงเริ่มแรก พูดง่ายๆ คือ RELAXATION จะเกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้า หากว่าแรงดึงเริ่มต้นที่ใช้นั้นมีค่าที่สูง จะเห็นได้จากในรูปนะครับว่าการเพิ่มแรงดึงจาก 60% เป็น 70% ค่า RELAXATION จะเพิ่มขึ้นประมาณ 12% หรือ จะทำให้ RELAXATION เพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า และ ถ้าเพิ่มขึ้นจาก 60% เป็น 80% ค่า RELAXATION จะเพิ่มขึ้นประมาณ 33% หรือ จะทำให้ RELAXATION เพิ่มขึ้นถึง 4.5 เท่า
ด้วยเหตุผลนี้เองนะครับจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงนิยมทำการออกแรงดึงเริ่มต้นที่ประมาณ 70% ถึง 75% ของค่าแรงดึงสูงสุดของลวดแดแรงนะครับ
โดยที่คุณสมบัติของการคลายแรงดึงที่ต่ำของลวดเหล็กกล้าตีเกลียว หรือ ที่เราเรียกกันว่า LOW-RELAXATION STEEL จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากๆ เลยนะครับ เพราะ เหล็กเสริมจะต้องอยู่ภายใต้สภาวะแรงดึงที่สูงมากๆ ตลอดอายุการใช้งาน หากไม่ใช้เหล็กเสริมที่มีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว พฤติกรรมการเกิด RELAXATION อาจจะเกิดขึ้นมากจนทำให้เหลือแรงดึงเพียงเล็กน้อยจนในที่สุดทำให้โครงสร้าง คอร นั้นๆ เกิดรอยร้าวและวิบัติในที่สุดครับ และ สืบเนื่องจากการที่ลวดเหล็กกล้า และ ลวดเหล็กตีเกลียว นั้นเป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของปริมาณคาร์บอนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจะต้องใช้กระบวนการทางความร้อนในการผลิตจึงจะทำให้คุณสมบัตินั้นเหมาะกับงาน คอร หรือ กล่าวคือ มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นนั่นเอง ดังนั้นเมื่อใดที่ได้รับความร้อนจนอุณหภูมินั้นมีค่าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ค่ากำลังดึงประลัย กำลังดึงที่จุดคลาก และ ค่าโมดูลัสความยืดหยุ่นตัว นั้นมีค่าลดลงอย่างรวดเร็ว และ หากว่ามีอุณหภูมิที่สูงมากกว่า 425 องศาเซลเซียส จะทำให้เหล็กสูญเสียกำลังไปโดยถาวรถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะลดลงมาเป็นอุณหภูมิปกติแล้วก็ตาม เว้นเสียแต่ว่าจะนำลวดเหล็กกล้านี้กลับไปผ่านกระบวนการกรรมวิธีทางความร้อนใหม่อีกครั้ง ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นแทบที่จะเป็นไปไม่ได้เลย
ด้วยเหตุผลนี้เองนะครับเราจึงห้ามทำการเชื่อมต่อลวดเล็กกล้าด้วยการเชื่อม ด้วยไฟฟ้า หรือ ด้วยความร้อน โดยเด็ดขาดนะครับ และ หากพบว่ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของลวดเหล็กนี้ได้รับความร้อนที่สูงเกินกว่า 425 องศาเซลเซียส เราห้ามนำลวดเหล็กนั้นมาใช้โดยเด็ดขาดอีกเช่นกัน เช่น เกิดเหตุเพลิงไหม้ จะก่อนหรือหลัง การหล่อพื้น คอร ก็ตามแต่ จะต้องมีการตรวจสอบ และ ทดสอบ อย่างละเอียดถึงสภาพความสามารถในการใช้งานได้ของลวดอัดแรงหรือโครงสร้างนั้นๆ ก่อนที่เราจะนำลวดหรือโครงสร้างนั้นๆ กลับมาใช้งาน เป็นต้นนะครับ
ดังนั้นหากยังมีเพื่อนๆ ท่านใดที่ยังมีความเข้าใจตรงจุดๆ นี้ผิดอยู่ ว่าเราสามารถทำการต่อทาบโดยการเชื่อมเหล็กด้วยกระบวนการไฟฟ้า หรือ การให้ความร้อน ได้อยู่ ก็ขอให้ทำความเข้าใจเสียใหม่นะครับ เพราะ ว่ามันจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งโดยที่ท่านอาจจะแค่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com