สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ
เนื่องจากมีคำถามที่ถามมายังแอดมินเข้ามาเยอะมากเกี่ยวกับเรื่องชนิด และ ประเภทของเสาเข็มนะครับ ทำให้แอดมินมีความเห็นว่าเพื่อเป็นการทำความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกันของเพื่อนๆ จึงอยากที่จะขออธิบายโดยแยกประเภทของเสาเข็มดังต่อไปนี้นะครับ
(1) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของการรับกำลัง
(2) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำ
(3) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้าง
(รูปที่ 1)
โดยในวันนี้จะขอมาทำการอธิบายในหัวข้อที่ (2) การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำนะครับ
(A) เสาเข็มไม้ (TIMBER PILE) เป็นเสาเข็มที่หาได้ง่าย มีน้าหนักเบา ราคาถูก สามารถที่จะขนส่งได้สะดวก มีความสามารถในการรับน้าหนักที่ค่อนข้างต่า จึงจำเป็นต้องตอกเสาเข็มเป็นกลุ่มๆ ซึ่งจะส่งผลให้มีฐานรากนั้นขนาดใหญ่ เมื่อเลือกใช้เสาเข็มประเภทนี้เราควรทำการตอกให้ต่ากว่าระดับน้าใต้ดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการผุกร่อนจากปลวก และ เห็ดรา ปัจจุบันนิยมใช้เสาเข็มไม้ที่ทำจากไม้สน และ ไม้ยูคาลิปตัส และ ตามท้องตลาดจะทำการระบุขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มเป็นนิ้ว และ ความยาวเป็นเมตร ดูรูปที่ (1) ประกอบ
(รูปที่ 2)
(รูปที่ 3)
(B) เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE PILE) โดยมากเสาเข็ม คสล เป็นเสาเข็มที่ทำการหล่อ ณ หน้างาน เช่น เสาเข็มเจาะ เสาเข็มชนิดนี้ เป็นเสาเข็มที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงที่น้อยเนื่องจากการสั่นสะเทือนที่น้อยนั่นเอง จึงสามารถทำการนำลงไปในดินได้ดีกว่าเสาเข็มชนิดตอก และ ยังสามารถควบคุมตาแหน่งได้ดีกว่าเสาเข็มตอกอีกด้วย แต่ ก็จะมีราคาที่สูงกว่าในกรณีรับน้าหนักเท่ากัน เป็นต้น อีกประเภทหนึ่งก็คือเข็ม คสล ที่หล่อมาจากโรงงานซึ่งมักจะทำเป็นท่อนสั้นๆ เพื่อการขนส่งที่สะดวก เราต้องทำการออกแบบเหล็กเสริมตามยาวให้เพียงพอเพื่อรับโมเมนต์ดัด จากการเคลื่อนย้าย และ การตอก ปัจจุบันเราจะนิยมใช้เสาเข็มประเภทนี้สำหรับงานที่มีความจำเป็นจริงๆ เช่น งานต่อเติม เป็นต้น เรามักได้ยินบ่อยๆ ถึงเสาเข็มคอนกรีตแรงเหวี่ยง หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็ม คสล โดยใช้คอนกรีตชนิดพิเศษที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีและขั้นตอนตามปกติ จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้าหนักได้มากดูรูปที่ (2) และ (3) ประกอบ
(รูปที่ 4)
(C) เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (PRESTRESSED CONCRETE PILE) เป็นเสาเข็มที่อาศัยเทคนิคการดึงลวดรับแรงดึงแล้วค่อยทำการเทคอนกรีตลงไปในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งจนได้กาลังจึงทำการตัดลวดรับแรงดึง ทำให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม ด้วยวิธีการนี้เองที่จะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวที่เกิดขึ้นในตัวของเสาเข็มได้ ซึ่งบางครั้งเราก็ทำการประยุกต์ใช้เทคนิคการสปัน หรือ คอนกรีตแรงเหวี่ยงเหมือนที่ทำในโครงสร้างเสาเข็ม คสล สำหรับเสาเข็มคอนกรีตแรงอัดแรงได้เช่นกัน โดยเราจะเรียกเสาเข็มชนิดนี้ว่า เสาเข็มคอนกรีตแรงเหวี่ยงอัดแรง ดูรูปที่ (4) ประกอบ
(รูปที่ 5)
(D) เสาเข็มเหล็ก (STEEL PILE) เป็นเสาเข็มที่ทาจากเหล็กทั้งท่อน มีความสามารถในการรับน้าหนักได้สูงกว่าเสาเข็ม คสล และ ไม้ แต่ก็จะมีราคาที่ค่อนข้างแพง เราจะนิยมใช้เสาเข็มประเภทนี้กับงานโครงสร้างชั่วคราวที่ต้องรับน้าหนักมาก แต่ ก็ต้องทาการรื้อถอนออกในภายหลัง ดูรูปที่ (5) ประกอบ
(รูปที่ 6)
(E) เสาเข็มประกอบ (COMPOSITE PILE) เป็นเสาเข็มที่ประกอบด้วยวัสดุสองชนิดในต้นเดียวกัน จุดสาคัญของเสาเข็มชนิดนี้ คือ รอยต่อต้องมีความแข็งแรง และ สามารถถ่ายน้าหนักจากท่อนบนสู่ท่อนล่างได้เป็นอย่างดี ดูรูปที่ (6) ประกอบ
โดยที่เสาเข็ม SPUN MICRO PILE ของทางภูมิสยามนั้นสามารถที่จะจำแนกให้อยู่ได้ในประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำให้อยู่ในประเภท (B) เพราะว่าเสาเข็ม SPUN MICRO PILE ได้รับการออกแบบให้ใช้เป็นคอนกรีตสปันที่มีคุณสมบัติด้านการรับกำลังที่ดี และ มีการเสริมเหล็กภายในเพื่อรับแรงอัดตามแนวแกน และ ดัดที่เกิดขึ้นได้ และ หากต้องการจะเรียกชื่อเต็มๆ ของเสาเข็ม SPUN MICRO PILE ของภูมิสยามนั้น เราต้องเรียกว่า เสาเข็มคอนกรีตแรงเหวี่ยงเสริมเหล็กขนาดเล็ก (REINFORCED CONCRETE SPUN MICRO PILE) นั่นเองครับ
วันพรู่งนี้แอดมินจะมาต่อเรื่องประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้างกันนะครับ
ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชนต่อตัวท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JD @ ภูมิสยามไมโครไพล์