ปัญหาเรื่องการกำหนดขนาดของ โครงสร้างเสา ในบางครั้งขนาดเสานั้นเล็กเกินไป บางครั้งก็มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น
ในการพิจารณาเรื่องขนาดของโครงสร้างเสานั้นเราควรทำการพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่
(1) ขนาดจำนวนชั้นของอาคารที่เสาต้นนั้นจะต้องรับ
หากอาคารของเราเป็นเพียงอาคาร 1 ถึง 2 ชั้น เราอาจจะทำการออกแบบให้โครงสร้างเสานั้นมีขนาดปกติได้นะครับ กล่าวคือ อาจจะเป็นขนาดของเสาที่เล็กที่สุด คือ 200×200 มม ก็ได้นะครับ แต่ ยิ่งอาคารของเรามีขนาดจำนวนชั้นที่มากขึ้นเท่าใด แสดงว่า นน ในแนวดิ่ง และ แนวราบ ที่เสาต้นนี้จะต้องรับก็จะมีขนาดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นขนาดเสาของเราก็จะยิ่งต้องมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่านั้นนะครับ
(2) ขนาดความยาวของช่วงคานที่เสาต้นนั้นจะต้องรับ
สาเหตุที่ต้องพิจารณาประเด็นนี้ด้วยเป็นเพราะว่าลักษณะของอาคารโดยทั่วๆ ไปในบ้านเรามักจะทำการออกแบบโดยใช้ระบบโครงสร้างเป็นโครงสร้าง คสล ต้านทานแรงดัด (RC MOMENT FRAME) เป็นหลักนะครับ และ หากว่าอาคารของเรานั้นมีขนาดความยาวของช่วงคานที่มีค่ามากๆ ก็จะทำให้เกิดแรงดัดแบบไม่สมดุล (UNBALANCE MOMENT) ขึ้นในเสาในปริมาณที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นขนาดเสาของเราก็จะยิ่งต้องมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นตามไปด้วยนะครับ
(3) ขนาดของ นน บรรทุกจรใช้งานที่เสาต้นนั้นจะต้องรับ
สำหรับอาคารที่ต้องรับ นน บรรทุกจรขนาดปกติทั่วๆ ไป หรือ พูดง่ายๆ คือ มีฟังก์ชั่นการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น อาคารบ้านพักอาศัยทั่วๆ ไป หรือ อาคารตึกแถว เป็นต้น กล่าวคือตั้งแต่ 100 KSM ไปจนถึงประมาณ 250 KSM เสาของเราก็อาจที่จะมีขนาดที่ค่อนข้างเป็นปกตินะครับ แต่ ยิ่งขนาดของ นน บรรทุกจรนี้มีค่ามากยิ่งขึ้นเท่าใด หรือ พูดง่ายๆ คือ มีฟังก์ชั่นการใช้งานอะไรที่เป็นพิเศษ เช่น อาคารสำนักงาน อาคารสาธารณะ เป็นต้น ดังนั้นขนาดเสาของเราก็จะยิ่งต้องมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นตามไปด้วยนะครับ
ดังนั้นผมจึงอยากที่จะขอให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ ทุกคนว่า ในการกำหนดขนาดของโครงสร้างเสานั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณาทั้ง 3 ปัจจัยข้างต้นร่วมกัน ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าหากต้องการให้เสานั้นมีขนาดหน้าตัดที่มีความเหมาะสม ประหยัด ปลอดภัย และ สามารถทำงานได้ง่าย หน้าที่นี้ก็ควรเป็นหน้าที่ของวิศวกรโครงสร้างก็จะเป็นการดีที่สุดนะครับ ซึ่งถึงแม้ว่าหน้าที่นี้ในสถานการณ์จริงๆ นั้นจะต้องเป็นหน้าที่ของสถาปนิกนะครับ แต่ สถาปนิกก็สามารถที่จะขอคำปรึกษาเรื่องขนาดของโครงสร้างเสาในเบื้องต้นนี้กับทางวิศวกรโครงสร้างได้นะครับ การทำเช่นนี้ก็ถือว่าไมได้ผิด กฎ หรือ กติกา ข้อใดๆ นะครับ ก็ขอให้ต่อไปนี้เพื่อนสถาปนิกท่านนี้มีความโชคดีในเรื่องของการกำหนดขนาดของโครงสร้างเสาในอาคารด้วยนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1582075905171862
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์