คอนกรีตที่ดีต้องบ่ม (ให้สุก)

เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้เองแต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีคุณภาพท่ีดี มีความแข็งแรงทนทานและใช้งานได้นานต้องทำการบ่มคอนกรีตเสียก่อน ซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตต้องใช้น้ำในการผสม จะทำให้เกิดปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ เรียกว่าปฏิกิริยาไฮเดรชันทำให้คอนกรีตแข็งตัวและรับกำลังได้

ปกติแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้ภายใน 5 – 6 ชั่วโมง ภายหลังจากการผสมน้ำ และมีกำลังเพิ่มข้ึนอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มกำลังของคอนกรีตไม่สามารถแยกได้ด้วยการดูจากตาเปล่า คือเราไม่สามารถบอกได้ว่าคอนกรีตที่เทพื้น กับคอนกรีตที่เทคาน ส่วนใดให้กำลังสูงกว่า

การจะบอกว่าคอนกรีตส่วนไหนให้กำลังสูงกว่าต้องนำไปทดสอบโดยการกดให้แตก แล้ววัดว่าคอนกรีตดังกล่าวรับกำลังได้มากน้อยเพียงใด แม้ว่าคอนกรีตต้องการน้ำในส่วนผสมเพื่อทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ให้มากและสมบูรณ์ท่ีสุด แต่ถ้าใส่น้ำในส่วนผสมมากเกินไปจะทำให้มีน้ำส่วนเกินจากการทำปฏิกิริยา และเมื่อน้ำดังกล่าวระเหยออกจากตัวคอนกรีตจะทำให้เกิดช่องว่างภายในข้ึน ส่งผลให้การรับกำลังลดลง ดังนั้นจึงต้องพยายามที่จะใส่น้ำในส่วนผสมให้พอเพียงกับการทำปฏิกิริยาของปูนซีเมนตเ์ท่านั้น

การบ่มคอนกรีต (Concrete Curing)

การไม่บ่มคอนกรีตมีข้อเสียมากมายและเป็นอันตรายต่อคอนกรีต

คอนกรีตท่ีไม่บ่ม นอกจากทำให้มีกำลังอัดท่ีต่ำกว่าแล้วยังทำให้สารเคมีหรือสารอันตรายต่างๆ ซึมเข้าสู่เน้ือคอนกรีตง่ายข้ึน ทำใหเ้หล็กเสริมเป็นสนิมได้ง่าย และคอนกรีตแตกร้าวเสียหายในที่สุด คอนกรีตที่ขาดการบ่มหรือบ่มไม่เต็มที่พบว่ามีการ สึกกร่อนเนื่องจากการขัดสี เช่น จากล้อรถยนต์สูงกว่าคอนกรีตที่บ่ม เพราะการต้านทานการสึกกร่อนของคอนกรีตจะข้ึนกับกำลังอัดของคอนกรีตเป็นหลัก

การบ่มทำให้ปฏิกิริยาไฮเดรชันของปูนซีเมนต์เกิดข้ึนได้ต่อเนื่อง โครงสร้างของเน้ือซีเมนต์จะแน่นข้ึนและคอนกรีตจะมีความแข็งแรง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

  • การบ่มเปียกตลอดเวลา โดยให้คอนกรีตเปียกชื้นตลอดเวลา เช่น แช่ในน้ำ เอาน้ำราดบนคอนกรีตอย่างต่อเนื่อง จะทำให้กำลังอัดของคอนกรีตมีค่าสูงสุด
  • การบ่มในอากาศ โดยการเทคอนกรีตเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้ในอากาศโดยไม่ต้องทำอะไร ทำให้การเพิ่มกำลังอัดของคอนกรีตเป็นไปอย่างช้าและมีค่าต่ำกว่ากรณีท่ีบ่มเปียกมาก

ระยะเวลาของการบ่มคอนกรีตในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนคือ

  • สำหรับคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทท่ี 1 ให้มีการบ่มอย่างน้อย 7 วัน
  • สำหรับคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทท่ี 3 ให้มีการบ่มอย่างน้อย 3 วัน

วิธีการบ่มคอนกรีตท่ีนิยมทำกัน ได้แก่การใช้น้ำพ่นหรือการขังน้ำ หรือการใช้กระสอบชื้น หรือวัสดุเปียกชื้นคลุมทับคอนกรีต เนื่องจากผิวหน้าของคอนกรีตที่สัมผัสกับอากาศจะสูญเสียความชื้นได้ง่าย จึงควรให้ความชื้นหรือน้ำทันทีท่ีคอนกรีตแข็งแรงพอ หรือทันทีเมื่อถอดแบบ น้ำที่ใช้ในการบ่มคอนกรีตควรเป็นน้ำท่ีไม่ก่อให้เกิดคราบสกปรกบนผิวหน้าของคอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องการโชว์ผิวหน้าคอนกรีต รอยคราบสกปรกเหล่าน้ีมักเกิดจากการใช้น้ำท่ีมีสนิมเหล็กสูงหรือใช้น้ำที่ไหลผ่านท่อเหล็กในการฉีดน้ำเพื่อบ่มคอนกรีต การใช้สายยางในการลำเลียงน้ำเพื่อใช้ในการบ่มคอนกรีตสามารถลดปัญหาดังกล่าวไดัดี

การใช้กระสอบเปียกคลุมเพื่อบ่มคอนกรีตเป็นท่ีนิยมกันมาก เพราะสามารถใช้บ่มคอนกรีต หลังจากที่ตบแต่งผิวเสร็จไม่นานโดยไม่ทำอันตรายแก่ผิวหน้าคอนกรีต ในกรณีที่ใช้น้ำพ่นบนผิวคอนกรีต ควรใช้กระสอบหรือผ้าเปียกปูทับผิวหน้าคอนกรีตก่อนเพื่อป้องกันการชะล้างของผิวหน้าคอนกรีตอันเนื่องมาจากแรงฉีดของน้ำ และควรทิ้งกระสอบหรือผ้าน้ีไว้จนแน่ใจว่าคอนกรีตแข็งตัวและไม่เป็นอนัตรายเนื่องจากการชะล้างของน้ำแล้วควรใช้กระสอบ 2 ช้ัน เพื่อให้สามารถเก็บความชื้นได้นานและต้องให้ความชื้นแก่คอนกรีตตลอดระยะเวลาท่ีระบุไว้ในการบ่ม

การบ่มคอนกรีต (Concrete Curing)

แหล่งที่มา – วารสารคอนกรีต โดยสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (TCA)