การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ใช้เพื่อทดสอบหาค่าความข้นเหลวของคอนกรีตในสภาพเหลวโดยใช้วิธีการทดสอบหาค่าการยุบตัว เพื่อตรวจสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต (Workability) ค่ายุบตัวไม่ได้เป็นค่าที่วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตโดยตรง แต่เป็นการวัดความข้นเหลวของคอนกรีต (Consistency) หรือลักษณะการไหลตัวของคอนกรีต (Flow Characteristic) แม้วิธีนี้จะไม่เหมาะสมสำหรับทดสอบคอนกรีตที่เหลว หรือแห้งมากแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากและสะดวกสำหรับการควบคุมความสม่ำเสมอของการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เช่น ในกรณีที่ค่ายุบตัวของคอนกรีตมีค่ามากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสัดส่วนผสม ขนาดคละหรือความชื้นในมวลรวมซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตคอนกรีตสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้

การทดสอบทำโดยตักคอนกรีตใส่ลงในโคนที่มีลักษณะเป็นกรวยยอดตัดให้ได้ 3 ชั้น โดยให้แต่ละชั้นมีปริมาตรเท่ากัน และต้องตำด้วยเหล็กตำทีละชั้นแล้วจึงค่อยๆ ยกโคนขึ้นอย่างช้าๆ คอนกรีตจะยุบตัวลงด้วยน้ำหนักของตัวเอง ความสูงที่ยุบตัวลงของคอนกรีตที่วัดได้ถือว่าเป็นค่ายุบตัวขอบคอนกรีต (ควรใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดไม่เกิน 2:30 นาที)

ค่ายุบตัวที่เหมาะสมสำหรับงานก่อสร้างในประเทศไทย

  • คอนกรีตสำหรับงานพื้นถนนสนามบิน ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 5.0 เซนติเมตร ± 2.5
  • คอนกรีตสำหรับงานทั่วไป ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 7.5 เซนติเมตร ± 2.5
  • คอนกรีตสำหรับงานฐานราก ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 10.0 เซนติเมตร ± 2.5
  • คอนกรีตสำหรับงานคอนกรีตปั๊ม ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 10.0 เซนติเมตร ± 2.5
  • คอนกรีตสำหรับงานเสาเข็มเจาะเล็ก ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 10.0 เซนติเมตร ± 2.5
  • คอนกรีตสำหรับงานเสาเข็มเจาะใหญ่ มากกว่า 15 เซนติเมตร
  • คอนกรีตสำหรับงานฐานรากแผ่ขนาดใหญ่ หรืองานที่มีเหล็กเสริมหนาแน่น มากกว่า 15 เซนติเมตร

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)

ข้อมูลจาก แผนกวิชาช่างก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่