สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ
เมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการพูดและอธิบายถึง วิธีในการออกแบบโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณ หรือ COLUMN BEARING PLATE ไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นในวันนี้ก็จะขออนุญาตมาทำการยกตัวอย่างถึงการออกแบบเจ้าโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันบ้าง ซึ่งผมก็จะขอหยิบยกและนำเอาปัญหาที่ผมได้ใช้ตั้งเป็นคำถามกับเพื่อนๆ ไปเมื่อวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยที่จะมีข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้นะครับ
ในรูปๆ นี้เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าเป็นรูปโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณซึ่งมีขนาดความกว้างและยาวในแต่ละด้านที่เท่าๆ กันนั่นก็คือเท่ากับ 400 มม โดยที่เจ้าแผ่นเหล็กนี้จะต้องทำหน้าที่ในการรับแรงกระทำในแนวดิ่งในกรณีของน้ำหนักบรรทุกแบบใช้งานจะมีค่าเท่ากับ 20 T และแรงโมเมนต์ดัดในกรณีของน้ำหนักบรรทุกแบบใช้งานจะมีค่าเท่ากับ 6 T-M ซึ่งมีการนำเอาเหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD40 นำมาขึ้นเกลียวทำเป็นสลักเกลียวแบบฝังยึดหรือ ANCHOR BOLT ด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเท่ากับ 20 มม ทั้งหมดจำนวน 4 เส้น ทั้งนี้หากเพื่อนๆ เป็นวิศวกรโครงสร้างในโครงการก่อสร้างแห่งนี้จงทำการตรวจสอบดูว่าจำนวนและขนาดของสลักเกลียวแบบฝังยึดที่ทำการกำหนดไปนี้เพียงพอต่อการใช้งานใช่หรือไม่ ?
ซึ่งจากปัญหาข้อนี้ในเมื่อกรณีของน้ำหนักบรรทุกนั้นเป็นกรณีน้ำหนักบรรทุกแบบใช้งาน ดังนั้นผมก็จะใช้วิธีในการออกแบบตามมาตรฐาน AISC โดย วิธีการหน่วยแรงที่ยอมให้ หรือ ALLOWABLE STRESS DESIGN หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ได้ว่าวิธี ASD ก็ได้ โดยที่ในขั้นตอนแรกที่เราจะสามารถจะเริ่มต้นทำการคำนวณได้เลยก็คือ ทำการคำนวณหาคุณสมบัติพื้นของหน้าตัดของแผ่นเหล็กออกมาก่อน ซึ่งก็จะได้แก่
Ip = B × N^(3) / 12
Ip = 40 × 40^(3) / 12
Ip = 213334 CM^(4)
Sp = I / C
Sp = 213334 / ( 40 / 2 )
Sp = 213334 / 20
Sp = 10667 CM^(3)
และ
Ap = B × N
Ap = 40 × 40
Ap = 1600 CM^(2)
ต่อมาก็คือทำการคำนวณหาค่า fb,max ออกมาก่อน
fb,max = P / Ap + M / Sp
fb,max = 20 × 1000 / 1600 + 6 × 1000 × 100 / 10667
fb,max = 68.75 KSC (COMPRESSION)
เมื่อค่า fb,min นั้นเกิดเป็นแรงดึงก็แสดงว่าหน้าตัดของเรานั้นต้องการสลักเกลียวแบบฝังยึดเพื่อมาช่วยในการรับแรงดึงที่เกิดขึ้นในโครงสร้างแผ่นเหล็ก ดังนั้นเราจะต้องทำการคำนวณหาค่าระยะที่เจ้าแผ่นเหล็กนี้จะต้องรับแรงอัดหรือระยะ a ออกมาให้ได้ โดยที่ผมจะอาศัยเพียงแค่สมการผลรวมของค่าโมเมนต์ดัดรอบตำแหน่งของสลักเกลียวแบบฝังยึด ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
∑M@ANCHOR BOLT = 0
C × [ ( 16 + N / 2 ) ‒ a / 3 ] ‒ P × ( 16 + e ) = 0
1/2 × fb,max × B × a × [ ( 16 + 40 / 2 ) ‒ a / 3 ] ‒ 20 × 1000 × ( 16 + M / P ) = 0
1/2 × 68.75 × 40 × a × [ ( 16 + 20 ) ‒ a / 3 ] ‒ 20 × 1000 × [ 16 + 6 × 1000 × 100 / ( 20 × 1000 ) ] = 0
1375 × a × ( 36 ‒ a / 3 ) ‒ 20000 × 46 = 0
a = 23.85 CM
ซึ่งก็จะสามารถทำให้เราคำนวณหาค่าแรงอัดที่เกิดขึ้นใต้แผ่นเหล็กออกมาได้ ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
C = 1/2 × fb,max × B × a
C = 1/2 × 68.75 × 40 × 23.85
C = 32794 KGF
ต่อมาเราก็จะทำการคำนวณหาค่าแรงดึงที่เจ้าสลักเกลียวจะต้องทำการต้านทาน โดยที่เราจะอาศัยเพียงแค่สมการผลรวมของค่าแรงกระทำในแนวดิ่ง ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
∑V = 0
T + P ‒ C = 0
T + 20 × 1000 ‒ 32794 = 0
T = 32794 ‒ 20000
T = 12794 KGF
ในเมื่อมีการนำเอาเหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD40 นำมาขึ้นเกลียวทำเป็นสลักเกลียวแบบฝังยึดด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเท่ากับ 20 มม ดังนั้นใน 1 ฝั่งก็จะมีหน้าตัดของเหล็กเสริมทั้งสิ้น
As,bolt = π × ( 20 / 10 )^(2) / 4 × 2
As,bolt = 3.14 × 2
As,bolt = 6.28 CM^(2)
ซึ่งขนาดของพื้นที่หน้าตัดของสลักเกลียวแบบฝังยึดดังกล่าวก็จะทำให้สลักเกลียวแบบฝังยึดของเรานั้นมีค่าความสามารถในการรับแรงดึงที่ยอมให้สูงสุดมีค่าเท่ากับ
Ta = fs × As,bolt
Ta = 0.60 × fy × As,bolt
Ta = 0.60 × 4000 × 6.28
Ta = 15072 KGF > 12794 KGF <<OK>>
สรุปก็คือ การกำหนดให้ใช้สลักเกลียวแบบฝังยึดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเท่ากับ 20 มม ทั้งหมดจำนวน 4 เส้น นั้นเพียงพอต่อการใช้งานสำหรับกรณีของโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณนี้แล้ว
ซึ่งจริงๆ แล้วขั้นตอนในการคำนวณอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องก็ยังคงจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบนั้นก็ยังมีอยู่อีกมากที่เราจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงอยู่ เช่น ค่าความหนาของแผ่นเหล็กที่ใช้ ค่าหน่วยแรงแบกทานสูงสุดที่สามารถยอมให้เกิดขึ้นใต้แผ่นเหล็กได้ ซึ่งก็จำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบแต่ผมได้ละเอาไว้เพราะในตัวอย่างข้อนี้ผมต้องการที่จะเน้นไปที่เฉพาะขั้นตอนของการคำนวณตรวจสอบเจ้าสลักเกลียวแบบฝังยึดเท่านั้น เป็นต้นนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#การออกแบบแผ่นเหล็กที่มีการติดตั้งสลักเกลียวแบบฝังยึด
#ครั้งที่5
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com