“ถาม-ตอบชวนสนุก” ปัญหาการเรียงลำดับขั้นตอนในการทดสอบดินและโครงสร้างเสาเข็มในงานก่อสร้าง

 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ


ผมขอทำการสมมติว่า ผมกำลังดำเนินการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างให้แก่ งานโครงสร้างฐานรากแบบลึก หรือ DEEP FOUNDATION อยู่ พอดูจากพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงแล้วก็คาดว่าน่าที่จะต้องใช้เป็นโครงสร้างเสาเข็มเจาะ หรือ BORED PILE ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าของและวิศวกรที่ปรึกษานั้นมีความเป็นห่วงเรื่องความสามารถในการรับกำลังของโครงสร้างเสาเข็มในโครงการนี้เป็นอย่างมากจึงดูแล้วน่าที่จะต้องทำการทดสอบความสามารถในการรับกำลังของโครงสร้างเสาเข็มด้วยวิธีสถิตยศาสตร์ หรือ STATIC LOAD TEST และวิธีพลศาสตร์ หรือ DYNAMIC LOAD TEST ด้วย คำถามในวันนี้ก็สุดแสนจะง่ายดายเลยนั่นก็คือ ผมอยากจะให้เพื่อนๆ ช่วยกันเรียงลำดับของการทดสอบเกี่ยวกับดินและโครงสร้างเสาเข็มว่า

ข้อที่ (1) (2) (3) และ (4) นี้ เราควรที่จะทำการทดสอบลำดับใดก่อนมาหลังจึงจะมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งข้อที่ (1) (2) (3) และ (4) นั้นก็จะประกอบไปด้วย
(1) STATIC LOAD TEST
(2) DYNAMIC LOAD TEST
(3) SOIL BORING TEST
(4) PILE SEISMIC TEST

ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการเรียงลำดับขั้นตอนในการทดสอบดินและโครงสร้างเสาเข็มในงานก่อสร้าง
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นในวันนี้เราจะมาช่วยกันวิเคราะห์และเรียงลำดับของการทดสอบเกี่ยวกับดินและโครงสร้างเสาเข็มที่เราควรจะทำในงานก่อสร้างใดๆ ก็ตามไปพร้อมๆ กันนะครับ


ผมคิดว่าเพื่อนๆ น่าจะตอบลำดับที่หนึ่งกันถูกต้องทุกๆ คนเลยนั่นก็คือ (3) SOIL BORING TEST เพราะหากเราไม่ทำการทดสอบหาคุณสมบัติต่างๆ ของโครงสร้างชั้นดินออกมา ก็จะทำให้เราไม่สามารถที่จะประเมินข้อมูลต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างเสาเข็มเจาะของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดสูงสุดนะครับ

ลำดับที่สองก็คือข้อ (4) PILE SEISMIC TESTเพราะเมื่อเราทราบข้อมูลจากลำดับแรกเราก็จะทราบแล้วว่าความลึกของปลายเสาเข็มนั้นจะอยู่ที่ชั้นดินความลึกเท่าใดดี ดังนั้นเมื่อทำการก่อสร้างโครงสร้างเสาเข็มเจาะเสร็จ เราก็ควรที่จะทำการทดสอบหาว่าโครงสร้างเสาเข็มเจาะของเรานั้นมีความสมบูรณ์มากหรือน้อยเพียงใดและได้ขนาดของความลึกตามที่เราได้ทำการออกแบบเอาไว้หรือไม่นะครับ

ลำกับที่สามและสี่ก็คือ (2) DYNAMIC LOAD TEST และ (1) STATIC LOAD TEST ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุที่เราควรที่จะทำการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ก่อนวิธีสถิตยศาสตร์นั้นเป็นเพราะว่า การทดสอบโครงสร้างเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์นั้นทำได้สะดวก รวดเร็วและใช้งบประมาณน้อยกว่าการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มด้วยวิธีสถิตยศาสตร์ค่อนข้างมากเลย ทั้งนี้หากว่าผลของการทดสอบนั้นออกมาดี ไม่มีข้อติติงใดๆ จากวิศวกรที่ปรึกษา ในบางครั้งเราก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องทำการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มด้วยวิธีสถิตยศาสตร์ให้สิ้นเปลืองงบประมาณและเวลาเลยก็ได้นะครับ

สรุปก็คือ หากเราจะทำการเรียงลำดับของการทดสอบเกี่ยวกับดินและโครงสร้างเสาเข็มว่า ข้อที่ (1) (2) (3) และ (4) นี้ เราควรที่จะทำการทดสอบลำดับใดก่อนมาหลังจึงจะมีความเหมาะสมที่สุด เราก็ควรที่จะเรียงลำดับจาก (3) (4) (2) และ (1) นั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการเรียงลำดับขั้นตอนในการทดสอบดินและโครงสร้างเสาเข็มในงานก่อสร้าง
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam