วิธีที่ดีที่สุดในการยกแท่งคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ผมได้ทำการหยิบยกเอาคำถามที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง พื้นฐานการคำนวณทางด้านกลศาสตร์ เอามาเป็นคำถามประจำสัปดาห์และเหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

หากผมมีความต้องการที่จะทำการเคลื่อนย้ายโดยที่ผมจะใช้วิธีการยกแท่งคอนกรีตขนาดความยาวเท่ากับ 20 เมตร ซึ่งมีน้ำหนักเท่ากับ 2 ตัน โดยการยกนี้ผมจะอาศัยลวดสลิงในการผูกไว้ที่ตำแหน่งตามในรูป (A) (B) และ (C) ซึ่งคำถามก็คือ ผมควรที่จะเลือกผูกลวดสลิงให้ตรงกับแบบใดเพื่อมิให้การยกของผมนั้นส่งผลเสียต่อทั้ง “แท่งคอนกรีต” และ “ลวดสลิง” ครับ ?

 

ยังไงเพื่อนๆ อย่าลืมนะครับ กติกาของการร่วมสนุกในเกมๆ นี้คือก่อนที่จะตอบ เพื่อนๆ จะต้องแจ้งอีเมลล์ของเพื่อนๆ ก่อนเสมอนะครับ มิเช่นนั้นผมจะถือว่าผิดกติกานะครับ ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันเสาร์

#ถามตอบชวนสนุก

#ปัญหาเรื่องพื้นฐานการคำนวณทางด้านกลศาสตร์

#วิธีที่ดีที่สุดในการยกแท่งคอนกรีต

 

เฉลย

หากเราพิจารณารูปทั้ง 3 ด้วยตาเปล่าเลยเราก็คงจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยใช่หรือไม่ครับว่า หากเลือกวิธีการยกตามในรูป (A) และใช้จำนวนของลวดสลิงที่เท่าๆ กัน แบบนี้ก็จะเป็นแบบที่จะต้องมีภาระเกิดขึ้นในตัวของลวดสลิงมากที่สุด ส่วนรูป (B) และ (C) ถึงแม้ว่ามุมของการยกจะมีความแตกต่างกันออกไปแต่สุดท้ายแรงลัพธ์หรือ RESULTANT FORCE ในตัวของลวดสลิงก็ยังคงมีค่าที่เท่าๆ กันอยู่ดี ดังนั้นผมจะขอตัดตัวเลือก (A) ออกและคงตัวเลือก (B) และ (C) เอาไว้ก่อน

 

ต่อมาเรามาทำการพิจารณาจากผลที่จะมีต่อ แท่งคอนกรีต กันบ้างนะครับ

 

ก่อนอื่นเรามาพิจารณากันก่อนนะครับว่า เจ้าแท่งคอนกรีตนี้จะมีพฤติกรรมของวัตถุที่มีความแข็งเกร็งหรือ RIGID BODY BEHAVIOR หรือไม่ โดยวิธีการก็คือ อาจจะทำการพิจารณาจากค่าของความยาวและน้ำหนักที่เราทราบ จากนั้นก็ทำการสมมติว่าขนาดหน้าตัดของแท่งคอนกรีตนั้นเป็นรูปทรงหนึ่งรูปทรงใดก็ได้ เรามาเริ่มต้นทำการคำนวณจากค่าน้ำหนักบรรทุกต่อความยาวกันเลยดีกว่า ซึ่งค่าๆ นี้ก็สามารถที่จะทำการคำนวณหาได้ง่ายๆ จาก

 

W = LOAD / L

W = 2 x 1000 / 20

W = 2000 / 20

W = 100 KGF/M

 

เมื่อค่า W ก็คือ ค่าน้ำหนักบรรทุกต่อความยาว ส่วนค่า LOAD ก็คือ ค่าน้ำหนักของเจ้าแท่งคอนกรีตซึ่งเราทราบว่ามีค่าเท่ากับ 2 ตัน หรือ 2000 กิโลกรัม และสุดท้ายก็คือค่า L ซึ่งก็คือ ค่าความยาวทั้งหมดของชิ้นส่วนแท่งคอนกรีต ต่อมาพอผมทราบค่าน้ำหนักบรรทุกต่อความยาวแล้วเราก็จะทราบได้ในทันทีเลยนะครับว่า พื้นที่หน้าตัดของแท่งคอนกรีตแท่งนี้ก็จะมีค่าเท่ากับเท่าใดเพราะตามปกติเราทราบถึงค่าหน่วยน้ำหนักของคอนกรีตเสริมเหล็กหรือ UNIT WEIGHT OF REINFORCED CONCRETE อยู่แล้วว่าจะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 2400 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ดังนั้นเราก็เพียงแค่แก้สมการหาค่าของพื้นที่หน้าตัดหรือ CROSS SECTIONAL AREA ออกมาซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ

 

W = (CROSS SECTIONAL AREA) x (UNIT WEIGHT OF RC)

100 = (CROSS SECTIONAL AREA) x 2400

CROSS SECTIONAL AREA = 100 / 2400

CROSS SECTIONAL AREA = 0.042 SQ.M

 

ต่อมาผมก็อาจจะทำการตั้งสมมติฐานว่า หน้าตัดๆ นี้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยที่ผมก็จะให้สัดส่วนของความลึกหรือค่า T นั้นเป็น 3 เท่าของความกว้างหรือค่า B ดังนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าของความกว้างของหน้าตัดออกมาได้จากความสัมพันธ์ของพื้นที่หน้าตัด ซึ่งค่า B ก็จะออกมามีค่าเท่ากับ

 

CROSS SECTIONAL AREA = B x T

CROSS SECTIONAL AREA = B x (3B)

CROSS SECTIONAL AREA = 3B^(2)

B^(2) = (CROSS SECTIONAL AREA) / 3

B = √[ (CROSS SECTIONAL AREA) / 3 ]

B = √[ 0.042 / 3 ]

B = 0.118 M

B ≈ 0.12 M

 

ดังนั้นหน้าตัดๆ นี้ก็จะมีค่าความลึกเพียง

 

T = 3 x B

T = 3 x 0.12

T = 0.36 M

T ≈ 0.35 M

 

ซึ่งหากเราลองทำการคำนวณตรวจสอบดูก็จะพบว่าค่าพื้นที่ๆ คำนวณได้นั้นจะเท่ากับที่ได้ทำการสมมติเอาไว้เลยนะครับ

 

CROSS SECTIONAL AREA = B x T

CROSS SECTIONAL AREA = 0.12 x 0.35

CROSS SECTIONAL AREA = 0.042 SQ.M

 

ดังนั้นพอค่าความลึกที่คำนวณได้นี้มีค่าเพียง 0.35 เมตร หรือ 350 มม ซึ่งมีค่าน้อยมากๆ เลยเมื่อเทียบกับความยาวช่วง เราก็อาจจะทำการสรุปได้ว่า เจ้าแท่งคอนกรีตนี้จะไม่มีพฤติกรรมของวัตถุที่มีความแข็งเกร็งอย่างแน่นอนนะครับ

 

หากมาถึงจุดนี้เพื่อนๆ อาจมีข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดจึงต้องทำการคำนวณดูว่าเจ้าแท่งคอนกรีตนี้จะมีพฤติกรรมของวัตถุที่มีความแข็งเกร็งหรือไม่ ?

 

นั่นก็เป็นเพราะว่า หากเจ้าแท่งคอนกรีตของเรานี้มีพฤติกรรมของวัตถุที่มีความแข็งเกร็งนั่นก็หมายความว่า ไม่ว่าเราจะเลือกวิธีการยกแบบใด ก็จะไม่มีผลต่อเจ้าแท่งคอนกรีตนี้นั่นเองครับ

 

ซึ่งจากผลการคำนวณข้างต้นก็แสดงให้เราเห็นแล้วนะครับว่า การเลือกวิธีในการยกจะส่งผลโดยตรงต่อเจ้าแท่งคอนกรีต ดังนั้นหากเราเลือกวิธีการยกแบบ (A) ก็จะเกิดเฉพาะค่าแรงดัดแบบลบหรือ NEGATIVE FLEXURAL FORCE ซึ่งก็จะมีค่ามากที่สุดที่บริเวณจุดที่ลวดสลิงนั้นยึดเจ้าแท่งคอนกรีตอยู่

 

ปล นี่ยังไม่รวมผลของการที่วิธีในการยกแบบ (A) นั้นอาจจะใช้ไม่ได้เลยเพราะวิธีการๆ นี้อาจจะไร้ซึ่งเสถียรภาพของโครงสร้างนะครับ

 

ถ้าจะเลือกวิธีการยกแบบ (B) ก็จะเกิดเฉพาะค่าแรงดัดแบบบวกหรือ POSTIVE FLEXURAL FORCE ซึ่งก็จะมีค่ามากที่สุดที่บริเวณจุดกึ่งกลางของช่วงว่าง

 

ทั้งนี้หากเลือกวิธีการยกแบบ (C) ก็จะเกิดทั้งค่าแรงดัดแบบบวกและลบเลย ซึ่งเมื่อค่าน้ำหนักต่อความยาวของแท่งคอนกรีตนั้นมีค่าที่เท่าๆ กันก็แสดงว่า การกระจายให้เกิดค่าแรงดัดแบบบวกและลบในโครงสร้างนั้นจะเป็นวิธีการที่จะส่งผลต่อภาระที่จะเกิดขึ้นในแท่งคอนกรีตที่มากที่สุด เพราะฉะนั้นข้อที่มีความถูกต้องมากที่สุดก็คือข้อ (C) นั่นเองนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันอาทิตย์

#ถามตอบชวนสนุก

#ตอบปัญหาเรื่องพื้นฐานการคำนวณทางด้านกลศาสตร์

#เฉลยวิธีที่ดีที่สุดในการยกแท่งคอนกรีต

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com