สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
เนื่องจากเมื่อวานนี้ผมได้พูดถึงเรื่อง เหล็กเสริมต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหล็กเสริมประเภทหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำการพิจารณาให้ต้องทำการเสริมอยู่ในแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นทางเดียว และ แผ่นพื้นสองทาง ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบกันไปนั้น ปรากฎว่ามีเพื่อนของผมท่านหนึ่งซึ่งติดตามอ่านบทความของผมได้ทักผมมาหลังไมค์ว่า อยากให้ผมได้ทำการยกตัวอย่างการคำนวณในเรื่องๆ นี้สักหน่อยเพื่อนๆ จะได้เกิดความเข้าใจและนึกภาพออกกัน ครั้นจะรอนำเอาคำถามข้อนี้ไปเป็นคำถามประจำสัปดาห์ก็คิดว่าจะไม่เหมาะเพราปัญหาข้อนี้จะมีความง่ายดายมากจนเกินไป ผมเลยตัดสินใจว่าจะขออนุญาตเพื่อนๆ นำตัวอย่างการคำนวณมาแสดงให้ได้ดูกันในวันนี้เสียเลยก็แล้วกัน ทั้งนี้จะได้ไม่เป็นการขาดตอนจากเมื่อวานด้วย โดยที่ปัญหาที่ผมสมมติขึ้นมานั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ
ผมมีแผ่นพื้น คสล ชนิดวางอยู่บนคานแบบทางเดียวอยู่หนึ่งผืนซึ่งมีขนาดความหนาของแผ่นพื้นเท่ากับ 175 มม กำหนดให้ทำการใช้เหล็กเกรด SD40 ขนาด DB12MM เป็นเหล็กเสริม ดังนั้นหากว่าผมมีความต้องการที่จะทำการคำนวณใส่เหล็กเสริมรอง ซึ่งในแผ่นพื้นทางเดียวก็คือ เหล็กเสริมต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยที่การพิจารณานั้นให้ทำการเสริมเหล็กกันร้าวนี้เป็นจำนวน 2 ชั้น จงทำการคำนวณดูว่าจะต้องทำการเสริมเหล็กป้องกันการแตกร้าวนี้ด้วยระยะห่างเท่ากับเท่าใด ?
เริ่มต้นจากทำการเลือกใช้ค่าจากมาตรฐาน ACI ก่อนว่าควรจะใช้ตามกรณีใดในการคำนวณปริมาณของเหล็กเสิรมต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยการพิจารณาจากค่าเกรดของเหล็กเสริมนั่นเอง จากการที่ทำการกำหนดให้
ค่า Ast คือ ปริมาณของเหล็กเสริมกันร้าวที่ต้องใช้ในหนึ่งหน้าตัดที่ทำการพิจารณา
ค่า fy คือ ค่ากำลังดึงที่จุดครากของเหล็กเสริมที่ใช้เป็นเหล็กกันร้าวในโครงสร้างแผ่นพื้น ในที่นี้เหล็กเกรด SD40 จะมีค่า fy เท่ากับ 4000 KSC
ค่า B คือ ความกว้างของแผ่นพื้น ในที่นี้เราจะทำการพิจารณาต่อความกว้างของแผ่นพื้นที่มีความยาวเท่ากับ 1.00 M หรือ 100 CM
ค่า T คือ ความหนาของแผ่นพื้น ในที่นี้จะมีค่าเท่ากับ 175 MM หรือ 17.5 CM
สำหรับเหล็กเส้น แบบข้ออ้อย หรือ DEFORMED BAR ที่มีค่า fy หรือ ค่ากำลังดึงที่จุดครากมากกว่าหรือเท่ากับ 2800 KSC หากเป็นเช่นนี้ ACI ได้กำหนดให้ทำการคำนวณหาปริมาณของเหล็กเสริมกันร้าวนี้จาก
Ast = 0.0020 x B x T
นั่นเป็นเพราะว่าค่า fy ของเหล็กเสริมจะมีค่าเท่ากับ 4000 KSC ซึ่งมีค่ามากกว่า 2800 KSC ตามกรณีในข้อที่ 2 และก็มีค่าที่น้อยกว่า 4200 KSC ตามกรณีในข้อที่ 3 ดังนั้นเราจึงสามารถทำการคำนวณหาค่า Ast ได้จาก
Ast req’d = 0.002 x 100 x17.5
Ast req’d = 3.50 CM^(2) / 1 M
ดังนั้นปัญหาข้อนี้ต้องการที่จะให้ทำการเสริมด้วยเหล็กจำนวน 2 ชั้น ทำให้ต้องทำการแบ่งปริมาณของ Ast ออกเป็น 2 ส่วนสำหรับเหล็กในแต่ละชั้น ทำให้เหล็ก Ast ในแต่ละชั้นจะมีค่าเท่ากับ
Ast = 3.50/2
Ast = 1.75 CM^(2) / 1 M / 1 LAYER
สำหรับเหล็กขนาด DB12MM จะมีขนาดพื้นที่หน้าตัด หรือค่า Ab เท่ากับ 1.13 CM^(2) ทำให้เราสามารถที่จะทำการคำนวณหาระยะห่างของการเสริมเหล็กได้จาก
SPACING req’d ≤ Ab / Ast
SPACING req’d ≤ 1.13 / 1.75
SPACING req’d ≤ 0.645 M
ทั้งนี้เราจะยังไม่สามารถใช้ค่า SPACING ตามที่คำนวณได้นี้นะครับ เราจะต้องทำการตรวจสอบเสียก่อนว่าค่า SPACING ที่คำนวณได้นี้สอดคล้องกับที่ ACI ได้กำหนดเอาไว้หรือไม่ นั่นก็คือพอทำการคำนวณหาค่า Ast เสร็จแล้ว ก็ให้เรามาทำการคำนวณหา ระยะห่าง หรือ SPACING ของเหล็กเสริมที่จะวางตัวอยู่ในแผ่นพื้นแต่ละชั้น โดยท่าแรกที่ต้องตรวจสอบคือ ระยะห่างของเหล็กเสริมนี้จะต้องมีค่าไม่มากกว่า 3 เท่าของความหนาของโครงสร้างพื้นนั้นๆ ซึ่งค่านี้จะมีค่าเท่ากับ
S MAX 1 ≤ 3 x T
S MAX 1 ≤ 3 x 0.175
S MAX 1 ≤ 0.525 M
สุดท้ายก็คือ ระยะห่างที่จะใช้ในการเสริมเหล็กเพื่อทำหน้าที่กันการแตกร้าวจริงนั้นจะต้องมีระยะห่างไม่เกิน 450 มม ดังนั้นจะทำให้
S MAX 2 ≤ 450 MM
S MAX 2 ≤ 0.45 M
สุดท้ายเราก็จะนำค่าทั้ง 3 ที่คำนวณได้ข้างต้นมาทำการเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน โดยที่เราจะทำการเลือกใช้ค่าที่น้อยที่สุด ดังนั้นค่า SPACING จริงๆ จึงจะมีค่าเท่ากับ
SPACING = MINIMUM ( SPACING req’d , S MAX 1 , S MAX 2 )
SPACING = MINIMUM ( 0.645 M , 0.525 M , 0.45 M )
SPACING = 0.45 M
สรุปนะครับ ผลจากการคำนวณเหล็กเสริมต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแผ่นพื้นข้างต้นก็คือ ให้ใช้เหล็กเกรด SD40 ขนาด DB12MM โดยที่ระยะศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเหล็กเส้นในแต่ละชั้นนั้นจะต้องวางห่างกันไม่เกิน 450 MM
จะสามารถสังเกตเห็นได้จากตัวอย่างข้อนี้ว่า ในการคำนวณหาปริมาณและระยะห่างของเหล็กเสริมต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแผ่นพื้นนั้น ผู้ออกแบบไม่จำเป็นที่จะต้องทราบเลยนะครับว่า แผ่นพื้นแผ่นนั้นจะมีขนาดความกว้างและความยาวเท่ากับเท่าใด ขอเพียงแค่ทราบขนาดของความหนาของแผ่นพื้นเพียงอย่างเดียวก็เป็นการเพียงพอแล้ว
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#ยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล็กเสริมต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็นแผ่นพื้นทางเดียวและแผ่นพื้นสองทาง
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com