การนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานในวิศวกรก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการแนะนำและให้คำอธิบายแก่เพื่อนๆ ทุกคนได้มีความรู้พื้นฐานรวมไปถึงการทำความรู้จักกันกับค่าๆ หนึ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ ค่าหนึ่งที่เราจะได้เมื่อเราทำการเจาะสำรวจดิน ค่าๆ นั้นก็คือค่าที่ได้จากการทำการทดสอบ STANDARD PENETRATION TEST นั่นเองนะครับ

ไม่เป็นไรนะครับ คิดเสียว่าการที่ผมนำเรื่องๆ นี้มาพูดซ้ำนั้นเป็นการทบทวนความรู้แก่เพื่อนๆ ก็แล้วกันนะครับ ค่า STANDARD PENETRATION TEST หรือ ที่เรานิยมเรียกกันสั้นว่าค่า SPT ก็คือเป็นการตรวจสอบค่าความแข็งแรงของชั้นดิน ซึ่งถือได้ว่าเป็นที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดวิธีการหนึ่งที่มีการใช้งานในประเทศไทยเลยก็ว่าได้นะครับ โดยการทดสอบมักที่จะดำเนินการร่วมไปกับการเก็บตัวอย่างดินโดยกระบอกผ่า โดยที่หลักการของการทดสอบก็คือ เมื่อทำการเจาะชั้นดินลงไปถึงระดับที่ต้องการที่จะทราบค่าความแข็งแรงแล้ว กระบอกผ่าก็จะถูกตอกลงไปในชั้นดินเป็นความลึกประมาณ 18 นิ้ว โดยที่มีการใช้ลูกตุ้มที่มีขนาดมาตรฐานซึ่งมีน้ำหนักเท่ากับ 140 ปอนด์ โดยการยกขึ้นที่ความสูง 30 นิ้ว โดยที่ระยะจม 18 นิ้ว นั้นจะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ช่วง ช่วงละ 6 นิ้ว แต่ละช่วงก็จะทำการจดบันทึกจำนวนครั้งที่ใช้ในการตอกเพื่อให้กระบอกผ่านั้นจมลงไปเป็นขนาด 6 นิ้ว ดังนั้นถ้าหากว่าชั้นดินนั้นๆ เป็นดินที่มีความแข็งในระดับหนึ่ง นั่นก็แสดงว่าจะต้องทำการให้พลังงานในการตอกที่มากหรือใช้จำนวนครั้งในการตอกที่มากตามไปด้วยนั่นเองนะครับ ทั้งนี้จำนวนในการตอกขนาด 6 นิ้ว แรกจะไม่ถูกนำมาใช้ อันเนื่องมาจากสภาพดินที่กันหลุมอาจจะถูกรบกวนจากการเจาะสำรวจมาก ซึ่งจะทำให้ความแข็งแรงของดินนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไป จำนวนการตอกในช่วงที่เหลือจะถูกนำมารวมกันให้ได้ค่าจำนวนครั้งการตอกค่ามาตรฐานหรือค่า N ซึ่งเราจะนำค่าๆ นี้ไปใช้ในการออกแบบเสเข็มต่อไปนะครับ

การทดสอบค่า SPT นั้นจะเหมาะสมสำหรับการทดสอบดินประเภท ดินเหนียวแข็ง หรือ STIFF CLAY ถึง ดินเหนียวแข็งมาก หรือHARD CLAY และ ดินทรายแน่น หรือ DENSE SAND แต่ จะไม่เหมาะสมสำหรับการทดสอบกับดินประเภท ดินเหนียวอ่อน หรือ SOFT CLAY ดินเหนียวแข็งปานกลาง หรือ MEDIUM CLAY และ ทรายหลวม หรือ LOOSE SAND ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ดินที่มีลักษณะความอ่อนตัวนั้นไม่สามารถที่จะต้านทานพลังงานที่เกิดจากการตอกได้ เพราะ ในบางครั้งจากการตอกเพียงครั้งเดียวก็อาจจะทำให้กระบอกผ่านั้นจมลงไปมากกว่า 18 นิ้ว เลยนะครับ

ตามปกติแล้วในกรณีที่ต้องการที่จะทำการออกแบบให้ตัวโครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นมีความสามารถในการต้านทาน การทรุด และ แรงกระทำตามแนวแกน ให้ได้นั้นเรามักที่จะเลือกวางปลายของเสาเข็มที่ระดับของชั้นดินที่มีค่า SPT โดยประมาณไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง ต่อ 1 ฟุต และ เราก็จะไม่นิยมทำการออกแบบให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเสาเข็มนั้นวางตัวอยู่ที่ ชั้นดินเหนียว ที่มีค่า SPT มากกว่า 40 ครั้ง ต่อ 1 ฟุต หรือ ชั้นดินทราย ที่มีค่า SPT มากกว่า 30 ครั้ง ต่อ 1 ฟุต นั่นเป็นเพราะว่าหากไม่ใช่เสาเข็มทีได้รับการผลิตด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่น เสาเข็มสปันไมโครไพล์ของบริษัทภูมิสยามที่ได้รับการออกแบบและก่อสร้างเสาเข็มโดยอาศัยวิธีการ “สปัน” หรือ วิธีการหล่อคอนกรีตด้วยวิธีให้แรงเหวี่ยงซึ่งจะทำให้ตัวโครงสร้างเสาเข็มเองนั้นมีค่าความแข็งแกร่งที่สูงมากกว่าเสาเข็มที่ได้รับการผลิตด้วยกรรมวิธีปกติทั่วๆ ไป เป็นต้นนะครับ มิเช่นนั้นอาจจะทำให้การตอกเสาเข็มที่ชั้นดินชั้นนี้ทำได้ด้วยความยากลำบากมากๆ บางครั้งอาจจะต้องทำการเข่นกันอยู่หลายรอบเลยทีเดียว ซึ่งในที่สุดก็มีโอกาสที่จะทำให้โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นอาจจะ แตก หรือ เกิดความเสียหาย ได้เลยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน
#พาไปทำความรู้จักและทบทวนกันถึงค่าSPTที่จะได้จากการเจาะสำรวจดิน

ADMIN JAMES DEAN

Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449