แผ่นพื้นวางบนคานแบบทางเดียวหรือ ONE WAY SLAB ON BEAM และ แผ่นพื้นวางบนคานแบบสองทาง คืออะไร?

แผ่นพื้นวางบนคานแบบทางเดียวหรือ ONE WAY SLAB ON BEAM และ แผ่นพื้นวางบนคานแบบสองทาง คืออะไรมาหาคำตอบกันได้ที่นี้?

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ภูมิสยามไมโครไพล์ 

อย่างที่ผมได้แจ้งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าหลังจากที่ผมได้แชร์ความรู้ในเรื่องหลักการหลักๆ ของเรื่อง แผ่นพื้นวางบนคานแบบทางเดียวหรือ ONE WAY SLAB ON BEAM และ แผ่นพื้นวางบนคานแบบสองทางหรือ TWO WAY SLAB ON BEAM ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต่อไปผมก็จะนำเอาเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องของแผ่นพื้นนี้มาเล่าสู่กันให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบกัน ดังนั้นในวันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกันถึงสิ่งของ 2 สิ่ง ที่มีขนาดเล็กๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งของที่มีความสำคัญมากๆ ในการทำงานก่อสร้างแผ่นพื้นทางแบบทางเดียวและแบบสองทางนั่นก็คือ เหล็กตีนกา และ ลูกปูน นั่นเองแต่ก่อนอื่นๆ ผมขอให้เพื่อนๆ ได้ดูรูปในโพสต์ๆ นี้ประกอบคำอธิบายได้นะครับ

จากรูปที่ 1 จะเป็นรูปภายในของแผ่นพื้นที่จะประกอบไปด้วยเหล็กตะแกรงจำนวน 2 ชั้น ที่ถูกวางตัวอยู่ในแผ่นพื้น จากที่ผมเคยได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ เช่น เรื่องระยะความลึกประสิทธิผล หรือ เรื่องระยะการหุ้มคอนกรีต เป็นต้น เพื่อนๆ เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่า ในการทำงานจริงๆ เค้าจะมีวิธีการอย่างไรในการที่จะควบคุมให้ค่าต่างๆ เหล่านี้เป็นไปตามที่วิศวกรผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ตอนที่ทำการออกแบบแผ่นพื้น ?

ถูกต้องแล้วครับ ที่หน้างานเวลาที่ทำการก่อสร้างแผ่นพื้น เค้าก็จะอาศัยความช่วยเหลือของเจ้าอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่างนี้ คือ เหล็กตีนกา และ ลูกปูน นี่แหละครับ

ภูมิสยามไมโครไพล์

จากรูป ตัวอย่าง รูปที่ 2 ก็คือเจ้า เหล็กตีนกา หรือ อาจจะเรียกในภาษาอังกฤษได้หลายคำ เช่น LEVEL ADJUSTER หรือ STEEL LEVELLER ก็ได้ เป็นต้น ก็จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่จะคอยปรับระยะห่างระหว่างเหล็กตะแกรงชั้นบนและชั้นล่าง โดยที่เจ้าเหล็กตะแกรงนี้ก็อาจที่จะทำขึ้นได้ทั้งจากเหล็กเส้นกลมหรือเหล็กข้ออ้อยที่ถูกนำมาดัดเพื่อใช้งานก็ได้ โดยหลังจากที่วางให้ได้อยู่ในตำแหน่งและระยะที่เหมาะสมแล้วก็จะมีการผูกด้วยลวดมัดเหล็กเข้ากันกับตัวเหล็กเสริมทั้งชั้นล่างและชั้นบนเพื่อให้เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่เกิดการเคลื่อนที่หรือผิดตำแหน่งไปในขณะที่ทำงานการเทคอนกรีตครับ

ภูมิสยามไมโครไพล์

จากรูป ตัวอย่าง รูปที่ 3 ก็คือเจ้า ก้อนลูกปูน หรือ อาจจะเรียกในภาษาอังกฤษได้หลายคำ เช่น MORTAR SPACER หรือ BASE SPACER ก็ได้ เป็นต้น ก็จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่จะคอยปรับระยะห่างระหว่างเหล็กตะแกรงชั้นล่างและท้องของแผ่นพื้นให้มีระยะของการหุ้มของคอนกรีตนั้นเป็นไปตามมาตรฐานตรงตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ โดยที่เจ้าลูกปูนนี้ก็จะทำขึ้นจากวัสดุปูนมอร์ตาร์โดยบางครั้งก็อาจจะเห็นว่ามีการหล่อเจ้าก้อนลูกปูนนี้ให้เป็นรูปทรงลูกบาศก์หรือรูปทรงกระบอกก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของหน้างาน โดยหลังจากที่วางให้ได้อยู่ในตำแหน่งและระยะที่เหมาะสมแล้วก็จะมีการผูกด้วยลวดมัดเหล็กเข้ากันกับตัวเหล็กเสริมชั้นล่างที่จะอยู่ทางด้านบนของเจ้าลูกปูนนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่เกิดการเคลื่อนที่หรือผิดตำแหน่งไปในขณะที่ทำงานการเทคอนกรีตครับ

ในครั้งต่อไปผมจะนำเอาเรื่องราวใดที่มีความเกี่ยวข้องกันกับการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างแผ่นพื้นที่ถือได้ว่ามีความสำคัญในการออกแบบและการก่อสร้างแผ่นพื้นไม่น้อยไปกว่าเรื่องที่ผมได้เคยกล่าวถึงไปก่อนหน้านี้มาทำการอธิบายและยกตัวอย่างให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันอีก เพื่อนๆ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ในสัปดาห์ต่อๆ ไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพุธ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องเหล็กตีนกาและลูกปูนที่ถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้างแผ่นพื้น

ADMIN JAMES DEAN

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
 082-790-1447
 082-790-1448
 082-790-1449
 081-634-6586