สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ
ในหลายๆ โพสต์ที่ผ่านมาที่เราพูดถึงโครงสร้างเสาเข็มแบบกลุ่มหรือ PILE GROUP เราได้ทำการพูดและพิจารณาถึงเฉพาะ “ค่าความสามารถในการรับกำลัง” ของตัวเสาเข็มกลุ่มเพียงเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความครบถ้วนในเรื่องๆ นี้จริงๆ ผมจำเป็นที่จะต้องพูดถึงถึง “ค่าความสามารถในการต้านทานการทรุดตัว” ของตัวเสาเข็มกลุ่มด้วยนะครับ
ก่อนที่ผมจะเริ่มต้นพาเพื่อนๆ เข้าสู่เนื้อหาของการคำนวณเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ ผมคงจะต้องเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้ทราบก่อน โดยที่ผมจะขอเริ่มต้นจากกรณีของ “โครงสร้างเสาเข็มเดี่ยว” หรือ “SINGLE PILE” กันก่อน ซึ่งผมก็ต้องขอออกตัวเอาไว้ล่วงหน้าก่อนเลยว่า หากทำการเปรียบเทียบวิธีในการคำนวณสำหรับกรณีของเสาเข็มแบบนี้ กับกรณีของ “โครงสร้างเสาเข็มกลุ่ม” หรือ “GROUP PILE” แล้วละก็ เพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ว่าจะมีบางขั้นตอนที่มีความละคล้ายคลึงกันเพียงแต่จะมีรายละเอียดและขั้นตอนบางอย่างที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปหรือเพิ่มเติมขึ้นมานั่นเองครับ
เราอาจจะเรียกค่าของการทรุดตัวของเสาเข็มเดี่ยวที่ผมกำลังจะอธิบายดังต่อไปนี้ได้ว่าเป็น “การทรุดตัวในตอนเริ่มแรก” หรือ “INITIAL SETTLEMENT” หรือก็มีอีกชื่อหนึ่งซึ่งเรานิยมเรียกกันนั่นก็คือ “การทรุดตัวแบบทันทีทันใด” หรือ “IMMEDIATE SETTLEMENT” ก็ได้ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วการทรุดตัวของโครงสร้างเสาเข็มเดี่ยวเมื่ออยู่ภายใต้น้ำหนักบรรทุกใช้งานสูงสุดหรือ MAXIMUM SUPER-IMPOSED LOAD นั้นจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน โดยหากเราให้ค่า ∆(T) คือ การทรุดตัวทั้งหมดของเสาเข็ม ค่าการทรุดตัวทั้ง 3 ส่วนหลักๆ ก็จะประกอบไปด้วย
- ค่า ∆(E) ก็คือ การทรุดตัวของเสาเข็มเนื่องจากคุณสมบัติความยืดหยุ่นตัวของตัวโครงสร้างเสาเข็มเอง
โดยที่เงื่อนไขของค่าๆ นี้ก็คือ โครงสร้างเสาเข็มจะต้องทำขึ้นจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นตัว โดยที่สมการที่ใช้ในการทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ก็คือ
∆(E) = [ Q(B) + ξ x Q(F) ] x L / ( Ap Ep )
- ค่า ∆(B) ก็คือ การทรุดตัวของเสาเข็มเนื่องจากน้ำหนักที่กระทำที่ปลายของโครงสร้างเสาเข็ม
โดยที่เงื่อนไขของค่าๆ นี้ก็คือ ลักษณะของการรับกำลังของตัวโครงสร้างเสาเข็มนั้นจะต้องเกิดจากการรับกำลังแบกทาน โดยที่สมการที่ใช้ในการทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ก็คือ
∆(B) = σ(B) x Dp x INF(B) x [ 1 – μ^(2) ] / Es
- ค่า ∆(F) ก็คือ การทรุดตัวของเสาเข็มเนื่องจากน้ำหนักที่กระทำตลอดความยาวของโครงสร้างเสาเข็ม
โดยที่เงื่อนไขของค่าๆ นี้ก็คือ ลักษณะของการรับกำลังของตัวโครงสร้างเสาเข็มนั้นจะต้องเกิดจากการรับกำลังฝืดที่ผิวสัมผัสระหว่างเสาเข็มกับตัวดิน โดยที่สมการที่ใช้ในการทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ก็คือ
∆(F) = Q(F) x Dp x INF(F) x [ 1 – μ^(2) ] / ( P x Lp x Es )
ดังนั้นจากที่ผมได้อธิบายไปแล้วข้างต้น เราจึงอาจที่จะสามารถทำการเขียนความสัมพันธ์ของค่าการทรุดตัวของโครงสร้างเสาเข็มออกมาได้ว่ามีค่าเท่ากับ
∆(T) = ∆(E) + ∆(B) + ∆(F)
เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมอยากจะขออนุญาตหยิบยกและนำเอาตัวอย่างของการคำนวณหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็ม ในกรณีที่โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มเดี่ยวให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันก่อนก็แล้วกัน โดยหากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#การทรุดตัวของเสาเข็ม
#ครั้งที่หนึ่ง
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com