ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

พอดีว่ามีเพื่อนท่านหนึ่งได้เข้ามาปรารภและสอบถามกับผมว่า ตามปกติแล้วเพื่อนของผมท่านนี้มักจะออกแบบพื้น คสล แบบมีคานรองรับแต่มาวันนี้เพิ่งจะมีโอกาสได้ทำการออกแบบพื้น คสล แบบไม่มีคานรองรับบ้าง พอเปิดหนังสือดูจึงเกิดความมึนงงและสับสนเป็นอย่างมาก เลยทำให้เกิดความฉงนสงสัยขึ้นมาว่า เพราะเหตุใดสมมติฐานและวิธีในการออกแบบแผ่นพื้นแบบที่มีและไม่มีคานรองรับจึงมีรายละเอียดและวิธีการที่ค่อนข้างจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลย ?

 

วันนี้ผมจึงอยากจะขออนุญาตมาทำการขยายความคำตอบที่ตัวผมเองนั้นเคยได้ตอบให้แก่แฟนเพจไปแล้วครั้งหนึ่งในเพจแห่งนี้เกี่ยวกับเรื่องการออกแบบแผ่นพื้น 2 ทาง คสล โดยที่ในเบื้องต้นนั้นผมได้ทำการอธิบายไปว่า ส่วนใหญ่แล้วตอนที่เรานั่งเรียนกันในห้องเรียนนั้นคงจะได้เรียนเฉพาะเรื่อง แผ่นพื้นแบบที่มีคานรองรับ หรือที่มีชื่อเรียกว่า RC SLAB ON BEAM เพราะพื้นชนิดนี้จะมีทิศทางหลักในการออกแบบเป็นทางด้านสั้น ดังนั้นโมเมนต์และเหล็กเสริมที่คำนวณได้ในทิศทางนี้จะมีมากกว่าในอีกทิศทางหนึ่งซึ่งก็คือด้านยาว ตรงกันข้ามกับแผ่นพื้น 2 ทางแบบที่ไม่มีคานรองรับ หรือ ที่เราเรียกกันจนคุ้นหูว่า FLAT SLAB หรือ FLAT PLATE นั่นเอง ซึ่งพื้นชนิดนี้จะมีทิศทางหลักในการออกแบบเป็นทางด้านยาว ดังนั้นโมเมนต์และเหล็กเสริมที่คำนวณได้ในทิศทางนี้จะมีค่ามากกว่าทิศทางๆ ด้านสั้น โดยที่ในรูปที่แสดงทางด้านบนนั้นเป็นพื้น 2 ทางแบบมีคานรองรับ จะเห็นได้ว่าสมมติฐานในการออกแบบพื้นชนิดนี้คือจุดรองรับจะมีค่า STIFFNESS ที่สูงกว่าตัวพื้นเองค่อนข้างมาก ดังนั้นเราจะสมมติว่าค่าการโก่งตัวที่จุดรองรับมีค่าเท่ากับ 0 เมื่อลักษณะของจุดรองรับมีลักษณะเป็นแบบนี้ เราจะพบว่า ณ จุดตัดตรงกึ่งกลางของแผ่นพื้นจะเป็นจุดร่วมกันระหว่างทางด้านสั้นและยาว ดังนั้น ณ ตำแหน่งนี้ค่าการโก่งตัวของทั้ง 2 ทิศทางจะมีค่าเท่ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะพบว่าในการที่ทิศทางสั้นและยาวจะเกิดการดัดตัวในปริมาณที่เท่ากัน แสดงว่าค่าแรงดัดที่ทำให้เกิด CURVATURE ในแต่ละทิศทางที่เท่ากันย่อมมีค่าไม่เท่ากัน กล่าวคือ ทางด้านย่อมต้องอาศัยแรงดัดที่มีค่าสูงกว่าทางด้านยาว เพราะ เราทราบว่าเทอมที่จะเป็นตัวบ่งชี้ค่า STIFFNESS ของการดัดคือ EI/L ดังนั้นค่า L ที่น้อยย่อมทำให้ค่า STIFFNESS นี้มีค่ามาก ยิ่งค่า L มากก็จะทำให้ค่า STIFFNESS นี้ลดน้อยลงไปเป็นสัดส่วนต่อกัน นี้เองคือสาเหตุว่าทำไมทางด้านสั้นถึงมีค่าแรงดัดมากกว่าทางด้านยาวสำหรับแผ่นพื้นในลักษณะแบบนี้ครับ

 

เรามาดูกรณีของแผ่นพื้น 2 ทางแบบวางบนเสาโดยตรงกันบ้าง เราจะเห็นได้ว่าค่าการโก่งตัวในแต่ละทิศทางของแผ่นพื้นจะเกิดขึ้นโดยแยกส่วนออกจากกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งจะขึ้นกับค่า STIFFNESS ทั้งหมด 3 ส่วนหลักๆ ของจุดรองรับและแผ่นพื้น คือ

 

(1) จุดรองรับ คือค่า FLEXURAL STIFFNESS ในเสาชั้นบนและชั้นล่าง และ TORSIONAL STIFFNESS ของแผ่นพื้นระหว่างช่วงตามขวางของจุดรองรับ

 

(2) แผ่นพื้น คือค่า FLEXURAL STIFFNESS ในแผ่นพื้นระหว่างช่วงตามความยาวของจุดรองรับ

 

ดังนั้นเมื่อลักษณะของจุดรองรับไม่เหมือนกับสมมติฐานแรกที่ผมได้กล่าวถึงไป พฤติกรรมในการถ่าย นน และแรงดัดก็จะเกิดขึ้น ก็จะเกิดขึ้นโดยแยกส่วนจากกันนั่นเอง ดังนั้นยิ่งช่วงใดที่มีความยาวของช่วงที่มาก ก็จะทำให้เกิดค่าแรงดัดที่มากเป็นสัดส่วนต่อค่าของความยาว นี้เองคือสาเหตุว่าทำไมทางด้านยาวถึงมีค่าแรงดัดมากกว่าทางด้านยาวสำหรับแผ่นพื้นในลักษณะแบบนี้ครับ

 

เมื่อสมมติฐานในการออกแบบแผ่นพื้นทั้ง 2 ที่ผมได้อธิบายไปข้างต้นนั้นมีรายละเอียดที่มีความแตกต่างกัน ก็ย่อมที่จะทำให้วิธีในการออกแบบโครงสร้างทั้ง 2 แบบนั้นมีความแตกต่างกันออกไปด้วยเป็นเรื่องปกติธรรมดา ดังนั้นในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายต่อถึงเรื่องวิธีและขั้นตอนในการออกแบบแผ่นพื้นทั้ง 2 ประเภทนี้โดยสังเขปให้เพื่อนๆ ทุกคนนั้นได้มีความรู้ความเข้าใจกันต่อไป หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเรื่องนี้ของผมกันได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน

#สมมติฐานที่ใช้ในการออกแบบแผ่นพื้นที่มีและไม่มีโครงสร้างคานรับแรงดัดรองรับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com