สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ
วันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาทำการตอบคำถามที่มีแฟนเพจของผมท่านหนึ่งได้กรุณาสอบถามผมมาหลังไมค์ว่า
“หากสังเกตสมการจากมาตรฐาน ACI หรือ EIT เพราะเหตุใดเวลาที่เรานำค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตจาก ตย รูปทรงกระบอกมาตรฐานที่อายุ 28 วัน หรือว่าค่า fc’ ไปใช้ทำการคำนวณค่าใดๆ ก็ตามเราจึงไม่ใช้ค่า fc’ ไปคำนวณ แต่ มักจะใช้ค่า 0.375fc’ หรือ 0.4fc’ หรือ 0.85fc’ แทน รบกวนช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อยนะครับ ?”
ผมขออนุญาตตอบคำถามเพื่อนท่านนี้โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้นะครับ
(1) สาเหตุที่เราต้องใช้ค่า 0.375fc’ หรือ 0.4fc’ เพราะเราจะถือว่าในช่วงนี้เป็นช่วงที่โครงสร้างของเรานั้นยังมีความเป็นเชิงเส้น (LINEAR) อยู่ กล่าวคือ สภาวะของโครงสร้างนั้นอยู่ในช่วงสภาวะการใช้งาน (SERVICE STAGE) นั่นเอง ดังนั้นหากพ้นช่วงๆ นี้ไปแล้วจะสามารถสังเกตได้จากแผนภูมิการทดสอบค่ากำลังอัดจะพบว่า ค่าแผนภูมินี้จะเริ่มเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะไม่เชิงเส้น (NON-LINEAR) แล้วนั่นเองครับ
(2) สำหรับสาเหตุที่เราไม่สามารที่จะใช้ค่า fc’ ได้ถึงระดับ 100% เป็นเพราะว่า ที่สภาวะสุดท้ายที่เรามักทำการพิจารณาค่าหน่วยความเครียด (STRAIN) สูงสุดของคอนกรีตเท่ากับ 0.003 ซึ่งก็คือ สภาวะของโครงสร้างนั้นอยู่ในช่วงสภาวะประลัย (ULTIMATE STAGE) ที่สภาวะนี้ก็คือคอนกรีตจะเกิดการอัดตัวกันจนแตก (CRUSHING) ซึ่งค่าๆ นี้จะอยู่ที่ประมาณ 0.85fc’ นั่นเอง พูดง่ายๆ คือ หากจะใช้ค่าๆ นี้เท่ากับ 100% ของ fc’ หรือ 1.00fc’ ค่าความเครียดที่จะใช้ก็ต้องมีสัดส่วนที่ปรับเปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าค่าๆ นี้จะน้อยลง ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของนักออกแบบอย่างเราๆ แน่นอนเลยนะครับ
สรุป สาเหตุที่ค่ากำลังอัดของโครงสร้างคอนกรีตนั้นมีค่าแตกต่างกันที่แต่ละสภาวะนั้นเป็นเพราะว่าเรามีการพิจารณาที่สภาวะต่างๆ ของโครงสร้างที่แตกต่างกันนั่นเอง ซึ่งนอกจากค่ากำลังอัดที่เหมาะสมแล้วก็ยังมีค่าหน่วยความเครียดที่มีความสอดคล้องกันกับแต่ละสภาวะที่ทำการพิจารณาด้วย และ แน่นอนว่ามาตรฐานการออกแบบต่างๆ จะมีการพิจารณาถึงประเด็นๆ นี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com