ชิ้นส่วน BOUNDARY ELEMENT เพิ่ม STIFFNESS ให้แก่ตัวผนังรับแรงเฉือน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน 

เพื่อนๆ เคยสังเกตและสงสัยกันมั้ยครับว่าเวลาที่เราอ่านแบบวิศวกรรมโครงสร้างของผนังรับแรงเฉือนในโครงสร้างอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้นขึ้นไป เหตุใดบางครั้งในผนังรับแรงเฉือนนั้นๆ ถึงมีลักษณะรูปร่างที่แปลกออกไป คือ จะเหมือนมี ELEMENT ที่ทำหน้าที่คล้ายๆ โครงสร้างเสาอยู่บริเวณขอบนอกสุดของผนังรับแรงเฉือนเพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งโดยมากในอาคารที่มีความสูงไม่มากมักจะไม่มี วันนี้ผมจะมาแชรืความรุ้เรื่องนี้ให้แก่เพื่อนๆ นะครับ 

 

 

ดูรูปที่ 1 ประกอบนะครับ จะเห็น ตย ของชิ้นส่วนที่ผมกล่าวถึงนี้ ชิ้นส่วนนี้เราเรียกว่า BOUNDARY ELEMENT

ชิ้นส่วน BOUNDARY ELEMENT นี้มีหน้าที่เพิ่ม STIFFNESS ให้แก่ตัวผนังรับแรงเฉือน โดยกระบวนการทำงานก็คือทำการกระจายให้ STRESS CONCENTRATION ในตัวผนังรับแรงเฉือนนั้นมีค่าที่เบาบางลงนั่นเอง

 

 

ดูรูปที่ 2 ประกอบนะครับ ดังนั้นเวลาที่เราจะตรวจสอบว่าผนังรับแรงเฉือนของเราต้องการชิ้นส่วนโครงสร้าง BOUNDARY ELEMENT นี้หรือไม่ เราก็เพียงตรวจสอบค่า STRESS ที่เกิดขึ้นว่า โดยคิดเสมือนว่าหน้าตัดของผนังรับแรงเฉือนนี้มีหน้าตัดเป็นแบบไม่ร้าว หรือ UN-CRACKED SECTION ดั้งนั้นค่า STRESS ที่เกิดขึ้นบน GROSS SECTION จะเป็นแบบ LINEAR ELASTIC โดยหากค่า BEARING STRESS นี้มีค่าเกิน PERMISSIBLE STRESS เท่ากับ 0.2fc’ นั่นแสดงว่ามีความจำเป็นต้องออกแบบชิ้นส่วน BOUNDARY ELEMENT ในหน้าตัดผนังรับแรงเฉือน

ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้เองครับที่เรามักพบว่าผนังรับแรงเฉือนในอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 6-10 ชั้น นั้นมักไม่ค่อยพบชิ้นส่วน BOUNDARY ELEMENT นี้ โดยเรามักพบว่าอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้นขึ้นไปจะมีความต้องการชิ้นส่วน BOUNDARY ELEMENT นี้ในผนังรับแรงเฉือนนั่นเองครับ

หากผมพอมีเวลาว่างยังไงผมจะขอมาอธิบายหลักในการคำนวณขนาด พท หน้าตัด ขนาดของหน้าตัดของตัว MAIN REINFORCEMENT และ DETAILING อื่นๆ เช่น ตัว CONFINEMENT REINFORCEMENT เป็นต้น ในหน้าตัด BOUNDARY ELEMENT ให้แก่เพื่อนๆ ในโอกาสถัดไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยนะครับ จนกว่าจะพบกันใหม่ 

ADMIN JAMES DEAN