สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ
ตามที่ผมได้เรียนให้เพื่อนๆ ทราบไปในการโพสต์ของเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า วันนี้ผมจะมาทำการอธิบายและพูดเจาะลึกลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง การคำนวณหาค่ากำลังการรับน้ำหนักและการทรุดตัวของฐานรากแบบเสาเข็ม ให้เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบกันนะครับ
ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตเกริ่นก่อนว่า หากถามผมว่า ถ้าจะให้ผมทำการให้คำแนะนำแก่เพื่อนๆ ในการใช้งานเสาเข็ม เพื่อให้เสาเข็มในอาคารของเพื่อนๆ นั้นจะได้มีกำลังในการรับน้ำหนักที่สูงที่สุดและมีการทรุดตัวของเสาเข็มที่น้อยที่สุดด้วย หากจะต้องเลือกระหว่างการเลือกใช้งานระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยว หรือ SINGLE PILE กับระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มกลุ่ม หรือ GROUP PILES แล้ว แน่นอนว่าผมก็จะต้องแนะนำให้ใช้เป็นระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยว นะครับ
สาเหตุนั้นเป็นเพราะว่า หากเราเลือกที่จะอาศัยระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มกลุ่ม เราจะพบว่า กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่มนั้นจะมีค่าที่ “น้อยกว่า” หรือ “เท่ากับ” กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มเดี่ยวทั้งหมดรวมกัน
งงหรือไม่ครับ ?
ฟังๆ ดูแล้วมันค่อนข้างที่จะย้อนแย้งนิสนึง ถ้าอย่างนั้นผมจะขออนุญาตทำการอธิบายแบบนี้จะดีกว่า หากผมกำหนดให้ค่า Qas เป็น กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแบบเดี่ยวเพียง 1 ต้น ค่า Qag เป็น กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแบบกลุ่ม และ ค่า N เป็นจำนวนทั้งหมดของเสาเข็ม เราจะพบสิ่งที่มีความน่าสนใจประการหนึ่งนั่นก็คือ
Qug ≤ N x Qag
โดยปัจจัยหลักๆ ที่จะอาจส่งผลโดยตรงต่อสถานะของกำลังและการทรุดตัวของเสาเข็มให้ทั้งสองค่านี้มีค่าที่มากหรือน้อยนั่นก็คือ
(1) ระยะห่างระหว่างเสาเข็ม ซึ่งตามปกตินั้นเรามักจะกำหนดให้ระยะห่างของเสเข็มนี้มีค่าไม่น้อยกว่า 2 ถึง 3 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม ขึ้นอยู่กับว่า “ปลาย” ของเสาเข็มนั้นจะมีการวางตัวอยู่บนชั้นดินประเภทใด
(2) ลักษณะและประเภทของชั้นดินที่เสาเข็มจะต้องมีการฝังตัวลงไปว่าเป็นดินแบบที่มีความเชื่อมแน่นหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ดินเหนียว (COHESIVE SOIL) หรือดินแบบที่ไม่มีความเชื่อมแน่นหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ดินทราย (COHESIONLESS SOIL)
พอพูดมาถึงตรงนี้ ผมเชื่อเหลือเกินว่าคงจะมีเพื่อนๆ ของเราหลายๆ ท่านที่เริ่มที่จะสามารถพอจินตนาการภาพกันออกบ้างแล้วนะครับ
ถูกต้องแล้วครับ เรื่องนี้ก็คือเรื่องเดียวกันกับที่ผมเคยได้หยิบยกและนำเอามาพูดถึงไปก่อนหน้านี้สักพักแล้วนั่นก็คือ การซ้อนทับกันของความเค้น หรือ STRESS OVERLAPPING ซึ่งหากว่าเสาเข็มกลุ่มของเรานั้นถูกวางตัวแบบชิดกันมากจนเกินไป ก็จะส่งผลทำให้ความเค้นในมวลดินนั้นมีโอกาสที่จะเกิดการซ้อนทับกันได้ ซึ่งก็จะส่งทำให้กำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มนั้นด้อยประสิทธิภาพลงไปและแน่นอนว่าก็จะยิ่งเป็นการเร่งทำให้เสาเข็มของเรานั้นมีค่าการทรุดตัวที่มากขึ้นด้วยนะครับ
เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมจะมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง ระยะห่างระหว่างเสาเข็ม และ ลักษณะและประเภทของดินที่เสาเข็มจะต้องมีการฝังตัวลงไป เพิ่มเติมกันอีกสักโพสต์ หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็มครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com