สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ
ผมจะขออนุญาตทำการสมมติว่าเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็น ผู้ออกแบบ หรือ ผู้ควบคุมการทำงาน คานยื่น (CANTILEVER BEAM) ที่ต้องรับ นน บรรทุกแบบจุด (CONCENTRATED LOAD) ที่ตำแหน่ง ข หรือ ปลายของคาน ดังรูปที่แสดง ซึ่งคำถามก็คือ เพื่อนๆ คิดว่า หากที่ตำแหน่ง ก ของคานยื่นนี้ เราจะทำการกำหนดให้จุดต่อนั้นเป็นแบบเชื่อม (WELDED CONNECTION) ระหว่างตัวเลือก A B C และ D จุดต่อแบบใดที่จะมีความเหมาะสมสำหรับการนำมาก่อสร้างมากที่สุดครับ ?
หากเราจะทำการกำหนดว่าจุดต่อๆ นี้นั้นเป็น จุดต่อของคานยื่น นั่นก็แสดงว่าจุดต่อๆ นี้จะต้องมีสภาพเป็น จุดต่อแบบยึดแน่น (FIXED SUPPORT) หรือ อย่างน้อยก็เป็น จุดต่อแบบกึ่งยึดแน่น (PARTIAL FIXED SUPPORT) ซึ่งจุดต่อลักษณะดังกล่าวต้องมีความสามรถในการรับแรงได้ในทุกทิศทุกทางเลย เช่น แรงดัด (FLEXURAL FORCE) แรงเฉือน (SHEAR FORCE) แรงบิด (TORSIONAL FORCE) เป็นต้นนะครับ
หากเราเลือกจุดต่อ A จะเห็นได้ว่า มีการเชื่อมเฉพาะบริเวณรอบๆ ตัวปีกของคาน WIDE FLANGE ดังนั้นจะทำให้จุดต่อๆ นี้จะรับได้ เฉพาะ แรงดึง และ แรงอัด ที่เกิดขึ้นจาก แรงดัด ที่บริเวณ ขอบบน และ ขอบล่าง ของคาน WIDE FLANGE เท่านั้น ซึ่งการเชื่อมแบบนี้จะไม่สอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อประเภทนี้นะครับ
หากเราเลือกจุดต่อ B จะเห็นได้ว่า มีการเชื่อมเฉพาะบริเวณรอบๆ ตัวเอวของคาน WIDE FLANGE ดังนั้นจะทำให้จุดต่อๆ นี้จะรับได้ เฉพาะ แรงเฉือน เพียงเท่านั้น ซึ่งการเชื่อมแบบนี้จะไม่สอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อประเภทนี้นะครับ
หากเราเลือกจุดต่อ C หรือ D จะเห็นได้ว่า มีการเชื่อมทั้งบริเวณรอบๆ ตัวปีกและเอวของคาน WIDE FLANGE ต่างกันที่ C จะเป็นการเชื่อมโดยรอบเลย แต่ D จะมีการเว้นช่วงไว้เล็กน้อยบริเวณตัวปีกของคาน WIDE FLANGE ดังนั้นจะทำให้จุดต่อๆ นี้จะรับได้ทั้ง แรงดึง และ แรงอัด ที่เกิดขึ้นจาก แรงดัด ที่บริเวณ ขอบบน และ ขอบล่าง ของคาน WIDE FLANGE และ ยังสามารถที่จะรับ แรงเฉือน ที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งการเชื่อมแบบนี้จะมีความสอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อประเภทนี้นะครับ
ในเมื่อเป็นแบบนี้ก็ทำให้เราสามารถที่จะตัดข้อ A และ B ออกไปได้ก่อน เหลือเอาไว้เฉพาะแค่ข้อ C และ D ที่สามารถจะนำมาใช้งานได้ ทีนี้หากเราพิจารณาระหว่าง C และ D แน่นอนว่าจุดต่อตามข้อ C นั้นย่อมที่จะมีความแข็งแกร่ง (RIGIDITY) ของจุดต่อที่สูงกว่าในข้อ D เพราะ รอยเชื่อมนั้นจะมีความยาวต่อเนื่องตลอดความยาวของเส้นรอบรูปของหน้าตัดคาน WIDE FLANGE แต่ ก็แน่นอนว่าการทำงานก่อสร้างจุดต่อตามข้อ D นั้นย่อมที่จะมีความง่ายดายกว่าของจุดต่อในข้อ C นะครับ
เพราะฉะนั้นหากเราต้องเลือกระหว่าง ความแข็งแกร่ง กับ ความง่ายในการทำงาน ของจุดต่อ เพื่อนๆ จะเลือกอันไหนละครับ ?
คำตอบก็คือ การที่เราจะเลือกระหว่าง C หรือ D ต้องดูว่า ขนาด และ ตำแหน่งที่กระทำ ของแรง P นั้นเป็นเช่นใด ?
หากแรง P มีค่ามากก็จะทำให้ค่า แรงดัดที่มากตามไปด้วย หากแรง P นั้นมีการถ่ายแรงลงไปโดยตรงที่แกนสะเทิน (NUETRAL AXIS) ของคาน WIDE FLANGE ก็จะทำให้คานๆ นี้จะไม่มีโอกาสเกิด แรงบิด ขึ้นในหน้าตัดเลย ดังนั้นหากเราพิจารณาแล้วพบว่าคาน WIDE FLANGE นี้ต้องรับแรง ขนาด และ ประเภท ใดบ้าง เราก็จะสามารถเลือกระดับของการทำรายละเอียดของรอยเชื่อมได้ตามความเหมาะสม เช่น หากแรง P มากจะทำให้ค่าแรงดัดมาก แต่ ไม่เกิดแรงบิดขึ้นในหน้าตัดเลย เราก็มีแนวโน้มที่อาจจะเลือกข้อ D มากกว่า C เพราะ การทำงานก่อสร้างจุดต่อแบบในข้อ D จะมีความง่ายกว่าในข้อ C แต่ หากว่าหน้าตัดนั้นมีโอกาสที่จะเกิดแรงบิดขึ้นได้ ไม่ว่าแรง P นั้นจะมีค่า มาก หรือ น้อย ก็ตาม เราก็มีแนวโน้มที่อาจจะเลือกข้อ C มากกว่า D เพราะ ถึงแม้ว่าวิธีในการทำงานการก่อสร้างนั้นจะมีความยุ่งยากมากกว่า แต่ การทำรอยเชื่อมแบบในข้อ C จะทำให้จุดต่อนั้นมีค่าความแข็งแกร่งต่อแรงบิด (TORSIONAL STIFFNESS) ที่สูงกว่าในข้อ D เป็นต้น
สรุป ในการออกแบบจุดต่อแบบ ยึดแน่น หรือ กึ่งยึดแน่น นั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำให้จุดต่อนั้นสามารถที่จะถ่าย (TRANSFER) แรงที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างให้สามารถที่จะเดินทางต่อไปลงยังจุดรองรับให้ได้ และนั่นคือเหตุผลว่าเหตุใดจุดต่อในข้อ A และ B จึงใช้ไม่ได้ และ เมื่อจะทำการออกแบบว่าจุดต่อของเรานั้นควรจะเป็นแบบ C หรือ D เราก็จำเป็นที่จะต้องทราบเสียก่อนว่า จุดต่อของเรานั้นจะต้องการความแข็งแกร่ง ในระดับใด และ ทางด้านใดบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อการที่เราจะสามารถทำการออกแบบให้จุดต่อของเรานั้นสามารถที่จะถ่ายแรงได้โดยสมบูรณ์ และ มี ขั้นตอน และ งบประมาณ ในการก่อสร้างที่ถือได้ว่ามีความเหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการที่สุดนั่นเองนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com