สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่อง และไม่เรียบร้อยขึ้นในงานการก่อสร้างกำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

 

เนื่องจากก่อนหน้านี้ผมได้นำเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่องการใช้งานและการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อหรือ DIAPHRAGM WALL เอามาฝากเพื่อนๆ กันไปแล้ว วันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอาประเด็นๆ หนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกันกับโครงสร้างกำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อเอามาฝากเพื่อนๆ กันสักเล็กน้อยนั่นก็คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องและไม่เรียบร้อยขึ้นในงานการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อนั่นเองนะครับ

โดยที่ประเด็นของสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องและไม่เรียบร้อยขึ้นในงานการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อที่ผมตั้งใจจะนำเอามาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้จะเป็นปัญหาที่เกิดจากชั้นดินโดยตรง รวมถึงอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะอยู่บริเวณพื้นที่ใต้ดินในหน่วยงานที่ทำการก่อสร้างเพราะชั้นดินกรุงเทพมหานครตั้งแต่ระดับ 20 เมตร แรกลงไป ส่วนมากแล้วจะถือได้ว่าเป็นชั้นดินเหนียว โดยที่ในระดับ 0 ถึง 15 เมตร นั้นก็มักที่จะเป็นดินเหนียวที่มีความอ่อนตัวมากๆ ส่วนระดับที่ต่ำลงไปก็จะค่อยๆ เริ่มเป็นชั้นดินเหนียวที่มีความแข็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นหากว่าในขั้นตอนของการก่อสร้างนั้นได้มีการใช้งานโดยทำการควบคุมสารละลายเบนโทไนต์อย่างถูกต้องและถูกขั้นตอน เราก็จะไม่พบว่าผนังดินของร่องที่ทำการเจาะนั้นเกิดการพังทลายลงแต่หากว่าเป็นการเจาะในชั้นดินทรายหรือชั้นดินกรวด โดยเฉพาะในชั้นทรายที่มีลักษณะหลวม ก็อาจจะมีโอกาสที่ร่องขุดนั้นจะพังทลายลงมาเนื่องจากสารละลายเบนโทไนต์นั้นอาจจะเกิดการซึมหายเข้าไปในดินอย่างรวดเร็วจนในที่สุดก็ทำให้ระดับของสารละลายเบนโทไนต์นั้นลดต่ำลงไปอย่างฉับพลันเกินไปนะครับ

 

ในอีกกรณีหนึ่งที่เมื่อทำการเจาะดินลงไปแล้ว อาจจะไปพบว่ามีโครงสร้างฐานรากและเสาเข็มเก่าของอาคารเดิมนั้นขวางอยู่ เมื่อได้ทำการขุดรื้อโครงสร้างดังกล่าวนี้ออก ซึ่งมักจะต้องทำการขุดออกเป็นบริเวณที่ค่อนข้างกว้างและก็ทำการถมดินใหม่ลงไปแทนที่ ถ้าหากว่าดินที่เราทำการถมใหม่ลงไปนั้นเป็นดินที่สามารถจะคงรูปอยู่ได้ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไรแต่หากพบว่า ดินที่ทำการถมใหม่นั้นเป็นดินไม่สามารถที่จะคงรูปอยู่ได้ก็แน่นอนว่าจะต้องมีดินบางส่วนที่เกิดการพังทลายลงมาและเมื่อทำการเทคอนกรีตลงไปก็จะทำให้โครงสร้างผนังของกำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อนั้นจะเกิดการบวมปูดเข้าไปในดินส่วนที่พังจนในที่สุดทำให้ผลจากการทำงานนั้นออกมาไม่เรียบร้อยได้น่ะครับ

 

สำหรับวิธีการในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ก็สามารถที่จะทำได้หลากหลายวิธีเลยแต่วิธีการที่ง่ายที่สุดที่ควรจะทำก่อนเริ่มต้นงานก่อสร้างก็คือ ทำการสำรวจและตรวจสอบดูก่อนว่า ใต้ดินในหน่วยงานก่อสร้างของเรานั้นมีโครงสร้างส่วนฐานรากและเสาเข็มของอาคารเดิมตั้งอยู่หรือไม่เพราะหากว่ามีจะได้สามารถทำการวางแผนเรื่องการขุดและจัดหาดินที่จะถูกนำมาถมใหม่ให้มีลักษณะและคุณสมบัติที่มีความเหมาะสมที่จะไม่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาดังที่ผมได้ยกตัวอย่างให้ทราบไปข้างต้นน่ะครับ

 

สำหรับรูปที่ผมนำมาใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้เป็นรูปของโครงสร้างกำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อที่ดีและออกมามีความสะอาดและเรียบร้อย ไม่ได้มีปัญหาใดๆ เนื่องจากตอนนี้ผมยังไม่มีรูปของโครงสร้างกำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อที่มีปัญหาในลักษณะดังกล่าวเอามาฝากเพื่อนๆ แต่หากในอนาคตผมมีรูปที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้เมื่อใดผมก็จะขออนุญาตนำเอามาฝากเพื่อนๆ ก็แล้วกันนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องและไม่เรียบร้อยขึ้นในงานการก่อสร้างกำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อ

#ปัญหาที่เกิดจากชั้นดินโดยตรง รวมถึงอุปสรรคที่อาจจะอยู่บริเวณพื้นที่ใต้ดินในหน่วยงานที่ทำการก่อสร้าง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com