รูปแบบของการวางแนวเหล็กเสริมในฐานราก
โพสต์ก่อนหน้านี้ของผมได้นำเสนอวิธีการเสริม เหล็กนอน (MAIN REIFORCEMENT STEEL) ในฐานราก F2 F3 F4 และ F5 ที่ได้รับการออกแบบโดย BALANCE METHOD และ STRUT AND TIE METHOD กับเพื่อนๆ ไปแล้ว และ เนื่องจากในฐานราก F1 นั้นพฤติกรรมต่างๆ ของฐานรากจะเกิดไม่ซับซ้อนเหมือนฐานรากประเภทอื่นๆ ผมจึงไม่ได้นำเสนอไว้ในโพสต์ก่อนหน้านี้ แต่ ลักษณะของ F1 นี้จะมีลักษณะเด่นในตัวเองแตกต่างออกไปจากประเภทของฐานรากชนิดอื่นๆ อยู่หลายประการ เช่น ผลของการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มในฐานราก F1 จะส่งผลทางด้านกำลังและเสถียรภาพของตัวฐานรากและตอม่อที่มากกว่าฐานรากประเภทอื่นๆ (โดยในประเด็นนี้ผมได้นำเสนอไปแล้วในการโพสต์ที่ผ่านมา) และ เหล็กเสริมที่จะทำหน้าที่เด่นๆ ในฐานราก F1 จริงๆ แล้วคือตัว เหล็กโอบรัด (CONFINED STEEL) เป็นต้น นี่คือเหตุผลว่าเหตุใดผมจึงได้ทำการแยกการนำเสนอออกมาเป็นอีกหัวข้อหนึ่งในวันนี้นั่นเองนะครับ
เนื่องจากว่าฐานราก F1 นั้นจะเป็นโครงสร้างฐานรากที่มีพฤติกรรมคล้ายกันกับโครงสร้างเสา กล่าวคือ ทำหน้าที่ถ่ายแรงตามแกนที่เป็นแรงอัดเป็นหลัก และ อย่างที่เราทราบกันดีว่าพฤติกรรมของเสาที่เราต้องการให้มีมากๆ 2 ประการก็คือ ความสามารถในการรับแรงอัดได้ดี และ ความเหนียวในระดับที่ดี นั่นเอง
หากจะพูดถึงประเด็นในเรื่องของความสามารถในการรับแรงอัดได้ดีนั้นเพื่อนๆ ก็คงจะทราบกันดีนะครับว่าเราจะต้องทำการควบคุมให้ระยะและขนาดต่างๆ ของเสาเข็มและฐานรากนั้นมีความเหมาะสม ส่วนเรื่องความเหนียวในระดับที่ดี เราก็ต้องทำในทำนองเดียวกับเสา คือ ให้ฐานราก F1 นี้การเสริมเหล็กโอบรัด (CONFINEMENT) ที่มากเพียงพอนั่นเองครับ
ดังนั้นการเสริมเหล็กในฐานรากเสาเข็มเดี่ยวก็จะมีหลากหลายรูปแบบเลยนะครับ ขึ้นอยู่กับว่าระดับของความเหนียวที่ต้องการนั้นมากน้อยเพียงใด ดังแสดงในรูป ตย เลยนะครับ
เริ่มจากในรูป (ก) ก่อนนะครับ ในรูปนี้เราจะทำเหล็กเสริมเป็นลักษณะของตะแกรงรองรับเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาได้ง่ายหากว่าการตอกเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์
รูป (ข) ในรูปๆ นี้เราจะทำโครงเหล็กเสริมครอบให้เป็นตะแกรงสองชั้น โดยการเสริมเหล็กแบบนี้จะสามารถแก้ปัญหาของการที่เสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ในรูป (ก) ได้นะครับ แต่ ระดับของ CONFINEMENT ของฐานรากในรูปนี้จะไม่ได้แตกต่างออกไปจากรูป (ก) เท่าใดนัก
รูป (ค) ในรูปๆ นี้เราจะเพิ่มปลอกเหล็กทางด้านข้างเพื่อที่จะเป็นการเพิ่มระดับของ CONFINEMENT แก่ตัวฐานรากซึ่งจะมีความแตกต่างออกไปจากรูป (ก) และ (ข) มากเลยนะครับ
ดังนั้นประเด็นๆ นี้ทางผู้ออกแบบมักที่จะเป็นผู้กำหนดและชี้ขาดลงไปในแบบก่อสร้างเลยนะครับว่ารายละเอียดการเสริมเหล็กของตัวฐานรากที่ทางผู้ออกแบบนั้นต้องการให้ทางหน้างานทำนั้นควรเป็นแบบใด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ควบคุมการทำงานสามารถที่จะทำการควบคุมการทำรายละเอียดการเสริมเหล็กดังกล่าวให้ออกมาสอดคล้องและเป็นไปตามแบบที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดมาตั้งแต่แรกนั่นเองนะครับ
หากเพื่อนๆ สังเกตจากรูป (ค) ดีๆ จะพบว่าการเสริมเหล็กนอนตามในรูปๆ นี้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการรับกำลังของโครงสร้างที่สภาวะของงานก่อสร้างที่มีความแตกต่างกันด้วยนะครับ ในวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดต่อถึงประเด็นๆ นี้ก็แล้วกันนะครับ หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้ก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1560325077346945
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์